ผลไม้ญี่ปุ่น 5 ชนิดที่ไปแล้วต้องกิน

ใครไปญี่ปุ่นแล้วชอบซื้อผลไม้มากินในโรงแรมพลาดไม่ได้ รวมห้าผลไม้ญี่ปุ่น พร้อมข้อมูลพันธ์ฮิต และฤดูที่เหมาะจะซื้อกินที่สุด ไปญี่ปุ่นเดือนไหนก็ลองเลือกกินดูนะ

เชื่อว่ามีผู้อ่านสายรักสุขภาพไม่น้อยที่สนใจรับประทานผลไม้ที่สดและอร่อยจากถิ่นกำเนิด ทั้งเลือกซื้อรับประทานเอง เลือกซื้อเป็นของฝากผู้อื่น หรือเลือกเป็นหนึ่งในกิจกรรมที่ต้องไปสัมผัสถึงฟาร์มปลูกผลไม้โดยตรง เราจึงอยากแนะนำผลไม้ขึ้นชื่อจากญี่ปุ่นทั้ง5ชนิดจากญี่ปุ่นที่ไปถึงถิ่นปลูกแล้วต้องรับประทานให้ได้ พันธุ์ชนิดไหนอร่อย ควรเลือกซื้อที่ไหนอย่างไร เรามีคำตอบให้คุณค่ะ

jumbo jili

เมล่อน (Melon)
เป็นผลไม้ที่อาจคุ้นตาคนไทยบ้าง โดยมักจะมีเปลือกนอกสีเขียวทรงกลม มีทั้งผลผิวเรียบและผิวขรุขระลายร่างแห ภายในมีสีสันที่แตกต่างกันไปตามสายพันธุ์ทั้งเนื้อสีขาว สีส้มเข้ม สีเหลือง และสีเขียวอ่อน มีรสชาติหอมหวาน โดยเฉพาะเมล่อนที่ญี่ปุ่นแล้วขึ้นชื่อเรื่องรสชาติฉ่ำหวานเป็นที่สุด

เมล่อนเป็นผลไม้ในช่วงฤดูร้อนของญี่ปุ่น (เดือนมิถุนายน-สิงหาคม) หากจะรับประทานให้ฉ่ำและอร่อยก็ต้องเลือกซื้อช่วงฤดูกาลนี้ แหล่งจัดจำหน่ายขนาดใหญ่ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดคือฮอกไกโด จังหวัดอิบารากิ และจังหวัดคุมาโมโตะ แบ่งราคาตามสายพันธุ์ ขนาด และเกรดคุณภาพผลไม้ จึงทำให้มีราคาตั้งแต่ลูกละหลักหลักพันถึงหลักหมื่นเยน ถือว่าเป็นผลไม้ราคาแพงสำหรับคนญี่ปุ่น โดยพันธุ์ที่ได้รับความนิยมคือพันธุ์ Yubari Melon และ Prince Melon ซึ่งมีราคาสูงมากถึงหลักหมื่นกว่าเยน

สล็อต

หากไปลองรับประทานทั้งทีอยากแนะนำให้เลือกเมล่อนยูบาริที่ฮอกไกโดในฤดูร้อน ด้วยสีสันที่น่ารับประทาน รวมถึงรสชาติที่และกลิ่นที่หอมหวาน ผลมีขนาดใหญ่ น้ำหวานภายในเนื้อเมล่อนเยอะคุ้มค่าแก่ราคาที่จ่ายไปในราคาขั้นต่ำหลักหลายพันเยน (แต่หากไปเที่ยวฟาร์มในฮอกไกโดก็สามารถซื้อที่หั่นแยกมาทานได้ โดยราคาต่อชิ้นจะหลักร้อยเยน) ถ้าหากจะซื้อกลับทั้งลูก เวลาเลือกซื้อควรเลือกผลเมล่อนที่สีผิวสม่ำเสมอกันทั้งลูก

ลูกพลับ (Persimmon)
ลูกพลับเป็นผลไม้ที่มีมายาวนานตั้งแต่ยุคสมัยเฮอัน ซึ่งคาดว่ารับพันธุ์มาจากประเทศจีนในสมัยนั้น มีผลสีส้มทรงกลม มีแก่นข้างบนผลสีเขียว มีรสชาติหวานละมุน มีวิตามินซีแถมช่วยแก้อาการเมาค้างได้ด้วย ซึ่งเป็นผลไม้ช่วงฤดูใบไม้ร่วง (เดือนกันยายน-พฤศจิกายนแต่เก็บเกี่ยวถึงเดือนธันวาคม) มีแหล่งผลิตขนาดใหญ่ที่จังหวัดวากะยามะ จังหวัดนารา และจังหวัดฟุกุโอกะ

สล็อตออนไลน์

พันธ์ที่นิยมปลูกคือพันธุ์จิโร่และพันธุ์ฟุยู ราคาของลูกพลับหวานโดยรวมไม่แพงราวๆ 100-200 เยนต่อผล บวกลบราคาตามคุณภาพและจำนวนของผลไม้ต่อแพ็ค โดยพันธุ์ที่ขึ้นชื่อเรื่องความหวานอร่อยและไม่ฟาดคือพันธุ์ฟุยู(富有柿) ซึ่งเป็นของขึ้นชื่อของจังหวัดนาราและจังหวัดกิฟุ แต่สามารถหาซื้อได้ตามซุปเปอร์ในเมืองเช่นกัน

เกาลัด (Chestnut)
เกาลัดเป็นผลไม้ชนิดเก่าแก่ที่ค้นพบตั้งแต่ยุคโบราณสมัยโจมงของญี่ปุ่นในราวๆ 5,000 ปีก่อน และเป็นผลไม้อีกชนิดที่ครองใจผู้ใหญ่หลายๆท่าน เนื่องจากเป็นผลไม้ที่มีรสชาติหวานน้อย มีลักษณะเป็นเปลือกผิวเรียบสีน้ำตาลเข้มปกคลุมด้วยขนแหลมรอบๆ เนื้อข้างในสีเหลือง มีรสชาติหวานมัน เป็น ผลไม้ช่วงฤดูใบไม้ร่วงของญี่ปุ่น (เดือนกันยายน-พฤศจิกายน) แหล่งผลิตขนาดใหญ่อยู่ที่จังหวัดอิราบากิและคุมาโมโตะ แนะนำให้ซื้อของจังหวัดอิราบากิ

jumboslot

พันธุ์ที่นิยมปลูกมากที่สุุดในญี่ปุ่นคือพันธุ์สึคุบะ (Tsukuba) ซึ่งเป็นพันธ์ที่นิยมปลูกในจังหวัดอิบารากิที่สุดด้วย มีเปลือกมันวาวสีน้ำตาลอมแดงมีน้ำหนักต่อผลมาก และพันธุ์ทันซาว่า (Tanzawa) อีกอันที่อยากแนะนำให้ไปลองเนื่องจากมีเนื้อที่หวานอร่อยและมีกลิ่นหอมมาก หากมาเลือกซื้อรับประทานควรมาในช่วงเดือนตุลาคม ซึ่งเป็นช่วงที่ผลเกาลัดสุกกำลังดีและรสชาติอร่อยที่สุด

สตรอว์เบอร์รี่ (Strawberry)​
เชื่อว่าคนไทยหลายๆท่านชอบรับประทาน​สตรอว์เบอร์รี่​ แต่อาจคุ้นชินกับรสชาติสตรอว์เบอร์รี่​ที่มีรสเปรี้ยวจี๊ดลูกเล็กมากกว่าเพราะหาซื้อง่ายในไทย แต่สำหรับสตรอว์เบอร์รี่​จากประเทศญี่ปุ่นนั้นจะมีหลายพันธ์ให้เลือก ส่วนใหญ่ที่ขายดีจะเป็นแบบสีแดงลูกโต รสชาติหวานฉ่ำอมเปรี้ยว เป็นผลไม้ประจำฤดูหนาวและฤดูใบไม้ผลิ (เดือนธันวาคม-พฤษภาคม​)​

หากต้องการจะเลือกซื้อรสชาติที่หวานอร่อยแนะนำให้ซื้อในช่วงฤดูใบไม้ผลิ มีแหล่งผลิต​ขนาดใหญ่​อยู่ในจังหวัดโทชิกิ จังหวัดฟุกุโอกะ และจังหวัดคุมาโมโตะ​ โดยมีสายพันธุ์อันดับหนึ่งของญี่ปุ่นที่แนะนำคือ สตรอว์เบอร์รี่​พันธุ์​อามะโอ(あまおう苺)​ มีผลใหญ่แบบในภาพ รสชาติหวานมาก มีตั้งแต่ราคาย่อมเยาว์ 2,500เยน ต่อแพ็ค15ผล กระทั่งหลักเฉียดราคาหมื่นเยน ตามคุณภาพเกรดผลไม้ น้ำหนัก และจำนวนผลต่อแพ็ค หาซื้อได้ไม่ยากตามซุปเปอร์ในเมือง หากไปถูกฤดู

slot

ฮิรามิเลม่อนหรือชิควาซ่า (Hirami lemon, Shikuwasa)
ชิควาซ่า (シークワーサー)​ ผลไม้ชนิดนี้คนไทยอาจไม่คุ้นหูนัก แถมมีชื่อคล้ายภาษาตะวันตกแต่จริงๆแล้วเป็นชื่อที่มีเอกลักษณ์แบบภาษาโอกินาว่า และมีชื่อกลางว่าฮิรามิเล่อน แต่ถึงแม้ชื่อจะไม่คุ้น รสชาตินั้นกินไม่ยากสำหรับคนไทย

ลักษณะผลภายนอกลูกเล็กสีเขียวเข้มเหมือนมะนาวแป้นของไทย แต่เมื่อผ่าข้างในจะพบว่าสีสันของเนื้อผลไม้จะเหมือนนำเลม่อนมาผสมกับส้ม มีรสชาติเปรี้ยวอมหวานเล็กน้อย เป็นผลไม้ที่เกิดขึ้นในเขตร้อนเท่านั้น จึงสามารถปลูกได้ดีในญี่ปุ่นแค่ที่จังหวัดโอกินาว่า จนกลายเป็นของฝากประจำจังหวัด ปลูกกันในช่วงกลางฤดูร้อนกระทั่งถึงช่วงกลางฤดูใบไม้ร่วง(เดือนกรกฏาคม-ตุลาคม)

วิธีรับประทานจะเหมือนกับเลม่อนหรือมะนาว โดยมักจะไปเป็นส่วนประกอบของอาหาร คั้นเป็นน้ำผลไม้สด นำไปจิ้มกับซาชิมิ หรือนำไปทำเป็นซอสชิควาซ่าก็ได้ ราคาหน้าสวนหากซื้อที่โอกินาว่าจะไม่แพงมากเพียง1,000 เยนต่อกิโลกรัม แต่ถ้าหากซื้อจากภูมิภาคอื่นราคาจะสูงขึ้นหลายเท่าตัว แนะนำว่าไม่ต้องหิ้วกลับไทย ให้ลองผลไม้ชนิดนี้แบบน้ำผลไม้คั้นสดจะเหมาะกว่า คนญี่ปุ่นชอบการท่องเที่ยวและการกินมาก

สูตร มิโสะดามะ ซุปมิโสะก้อนเติมน้ำร้อนพร้อมทาน

ใครรักอาหารญี่ปุ่นต้องรู้จักไว้ มิโสะดามะคือซุปมิโสะก้อนแบบพกพา แค่เติมน้ำร้อนก็พร้อมรับประทาน
มิโสะดามะ
มิโสะดามะคือซุปมิโสะก้อนสำเร็จรูป มีทรงกลมที่ดูคล้ายช็อกโกแลต เป็นอาหารพร้อมทานของญี่ปุ่นที่มีมาตั้งแต่ยุคซามูไร วัตถุดิบหลักก็คือมิโสะ (ที่ใช้ทำซุปนั่นเอง) ปริมาณสำหรับ 1 ที่พอดี นำมาปั้นเป็นก้อนๆ แค่เติมน้ำร้อนก็จะได้ซุปมิโสะพร้อมรับประทาน ไม่ว่าที่ไหนหรือเมื่อไหร่ก็อิ่มอร่อยกับซุปมิโสะอุ่นๆได้ ง่าย สะดวก รวดเร็ว ดีต่อสุขภาพค่ะ มีหลักฐานว่าอาหารชนิดนี้นั้นเก่าแก่และทำกินกันมาแต่โบราณ เช่นในยุคเซ็งโงกุที่ประเทศญี่ปุ่นปกครองโดยขุนพลมากมายและมีสงครามกลางเมืองต่อเนื่องยาวนาน มิโสะดามะนั้นเป็นอาหารที่ช่วยเพิ่มพลังงานแก่เหล่านักรบ ในอดีตจะนำมิโสะที่ปั้นเป็นก้อนไปเผาหรือตากแห้ง ห่อด้วยใบไผ่แห้งหรือผ้าฝ้าย ผูกไว้ที่เอวนักรบญี่ปุ่น ถือเป็นเสบียงสำคัญอย่างหนึ่งของนักรบยุคโบราณค่ะ

jumbo jili

ปัจจุบันมีการพัฒนาเป็นหลายรูปแบบ ใส่ส่วนผสมอื่นๆนอกจากมิโสะมากกมาย เช่นกุ้งแห้ง สาหร่ายแห้ง และอื่นๆ แค่เทน้ำร้อนแล้วก็จะได้ซุปมิโสะที่สวยงามและมีคุณค่าทางอาหารหลากหลาย ไม่ได้มีแต่มิโสะอย่างเดียวด้วยค่ะ ซึ่งเนื่องจากเป็นอาหารที่ค่อนข้างสวยและถ่ายรูปขึ้น จะทำเป็นของฝากของขวัญก็ได้ค่ะ มาลองทำซุปเปอร์ฟู้ดของประเทศญี่ปุ่นกันค่ะ

8 ข้อดีของการทำมิโสะดามะ

  1. เพียงเติมน้ำร้อนก็พร้อมรับประทาน
  2. มีวิธีการทำที่ง่าย แค่ผสมทุกอย่างแล้วปั้นก้อน
  3. เป็นอาหารที่ปรุงเอง จึงสะอาดปลอดภัย
  4. ไม่จำกัดในเรื่องของวัตถุดิบ ดัดแปลงสูตรได้หลากหลาย
  5. ทำครั้งละมากๆ ใส่ตู้เย็นได้ 1 สัปดาห์ และเก็บได้นานถึง 1 เดือนในช่องฟรีซ
  6. พกพาสะดวก จะปิคนิคหรือใส่กล่องไปกินที่ทำงานก็ได้
  7. มีประโยชน์ต่อร่างกายด้วยมิโสะที่เป็นซุปเปอร์ฟู้ดของญี่ปุ่น
  8. สำหรับคนที่ทำอาหารญี่ปุ่นอยู่ประจำ จะมีส่วนผสมและเครื่องปรุงที่มีติดบ้านอยู่แล้ว ประหยัดทั้งงบและเวลาค่ะ

สล็อต

วิธีรับประทาน
แกะออกจากแรป ใส่ถ้วย ใส่ผักและโปรตีนตามชอบ ได้ทั้งอาหารแห้งและอาหารปรุงแล้ว เติมน้ำร้อนแล้วคนให้เข้ากันก็พร้อมรับประทานค่ะ
ลักษณะของมิโสะ และการเลือกใช้
“มิโสะ” ทำจากถั่วเหลืองหมักกับหัวเชื้อที่เรียกว่า โคจิ (koji/麹)ผสมเกลือ มีแร่ธาตุและจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ลักษณะนิ่ม รสชาติเป็นเอกลักษณ์ มีรสเค็ม เค็มมาก เค็มน้อย ขึ้นอยู่กับเกลือและระยะเวลาในการหมัก นอกจากนี้ยังหมักกับข้าว ข้าวกล้อง ข้าวบาร์เลย์ ได้ ฉะนั้นจึงแบ่งลักษณะของมิโสะได้ 3 หัวข้อหลัก ดังนี้
(1.) จากรสชาติ คือ เค็มน้อย เค็มกลาง และ เค็มมาก
(2.) จากสี คือ สีออกขาว สีกลางๆ สีออกแดง และ
(3.) จากวัตถุดิบที่ใช้หมัก

สล็อตออนไลน์

ทั้งหมดนี้ทำให้ในแต่ละภูมิภาคของญี่ปุ่นนั้นมีมิโสะแตกต่างกันไป หลายจังหวัดก็มีมิโสะที่มีชื่อเสียงของที่นั้นๆค่ะ

ร้านที่ขายเฉพาะมิโสะที่ญี่ปุ่นบางร้านจะมีให้เลือกชิม เราสามารถซื้อรสที่ชอบได้ ส่วนตามซุปเปอร์มาร์เก็ตใหญ่ๆก็จะมีครบแทบทุกประเภท ซึ่งมิโสะหลายยี่ห้อผสมสารกันบูดและสารเสริม แนะนำชนิดปลอดสารค่ะ ซึ่งมีตัวอักษรภาษาญี่ปุ่นคำว่า mutenka (มุเทนคะ) เขียนว่า 無添加 ที่บรรจุภัณฑ์อย่างชัดเจน มักจะมีราคาแพงกว่า แต่ดีต่อร่างกายค่ะ ถ้าหาได้ก็อยากแนะนำสิ่งนี้

สำหรับที่ไทย มิโสะที่ใช้ตามร้านอาหารส่วนใหญ่เป็นมิโสะขาว หลายคนอาจคุ้นเคยรสชาตินี้ จะเลือกใช้แต่มิโสะขาวก็ได้นะคะ แต่ถ้าเป็นไปได้สำหรับสูตรมิโสะดามะนี้ ใช้มิโสะ 3 ชนิด ผสมกันค่ะ

jumboslot

ส่วนผสมที่ใช้ตกแต่งและเพิ่มรสชาติ
ส่วนผสมที่นิยมใช้มักเป็นเป็นอาหารแห้งที่เป็นเครื่องปรุงในซุปต่างๆอยู่แล้วค่ะ ชนิดที่เติมน้ำร้อนก็รับประทานได้เลย ราคาประมาณ 100-300 เยน หาซื้อได้ที่ร้านร้อยเยน และซุปเปอร์มาร์เก็ตญี่ปุ่นทั่วไปค่ะ แต่อย่างที่บอกไปว่า ไม่มีสูตรตายตัว เพราะฉะนั้นจะลองใส่ของแห้งชนิดอื่นที่ตัวเองชอบก็ได้นะคะ
หากใช้อาหารสดที่นำมาปรุงสุก ยากต่อการปั้นก้อน ด้วยปริมาณที่เยอะและลักษณะที่นิ่มค่ะ ทั้งยังเก็บได้แค่ 1-2 วันเองค่ะ
ถ้าวัตถุดิบพร้อมแล้วมาเริ่มทำกันเลยค่ะ

สูตร มิโสะดามะ
ก่อนอื่นต้องปรุงมิโสะผสมดะชิค่ะ ใช้มิโสะชนิดใดก็ได้ 2-3 ชนิดผสมกัน จะทำให้ซุปมีรสชาติกลมกล่อม อร่อยมีอูมามิยิ่งขึ้นค่ะ หรือชนิดเดียวก็ได้นะคะ ถ้าใช้ชนิดที่ผสมดะชิแล้ว ข้ามไปทำขั้นตอน ”มิโสะมารุ”ได้เลยค่ะ

slot

ส่วนผสม สำหรับ 1 ที่

  1. มิโสะ 12 กรัม (2 ช้อนชา)
  2. ผงซุปญี่ปุ่น 1 กรัม (1/3 ช้อนชา)
    ชงกับน้ำร้อน 180 มิลลิลิตร : 1 ที่
    วิธีทำ
    ผสมมิโสะกับผงซุปให้เข้ากัน ใช้แรปห่อแล้วปั้นเป็นก้อนกลม
    มิโสะผสมดะชินี้ เก็บใส่ตู้เย็นได้ 2 สัปดาห์ และ ช่องฟรีซ 2-3 เดือน มิโสะแช่ช่องฟรีซได้ไม่แข็งค่ะ ตู้เย็นตามบ้านเรือน ช่องฟรีซอุณหภูมิ -5℃~-15℃ ซึ่งไม่ต่ำกว่า -20℃ ที่มิโสะจะเป็นก้อนแข็งได้ค่ะ ลองทำทานกันก็ได้นะคะ

3 เบอร์เกอร์ท้องถิ่นแห่ง Okayama

Okayama เมืองใกล้ๆทะเลเซโตะทางตะวันตกของญี่ปุ่น อุดมสมบูรณ์ไปด้วยผลไม้นานาชนิดอาทิเช่น องุ่น พีช และแน่นอนว่าเป็นที่รู้จักกันดีในฐานะเมืองที่มียีนส์พรีเมี่ยม คุณภาพระดับแนวหน้าของโลก และด้วยความที่เป็นเมืองที่ได้รับวัฒนธรรมอย่างมากมาจากอเมริกา ทำให้มีแฮมเบอร์เกอร์ท้องถิ่นที่รสชาติเฉพาะตัว

jumbo jili

  1. Hiruzen Jersey Land Burger ( เมือง Maniwa )
    Hiruzen Jersey Land นั้นคล้ายๆกับฟาร์มโชคชัยบ้านเรา คือเป็นฟาร์มขนาดใหญ่ที่เปิดเป็นสถานที่ท่องเที่ยว และให้ผู้เข้าชมทดลองรีดนมวัวดูได้ ฟาร์มแห่งนี้ตั้งอยุ่ในบริเวณที่ราบสูง Hiruzen Kogen พื้นที่รีสอร์ทยอดนิยมที่อยู่ติดกับจังหวัด Tottori นอกจากเที่ยวชม และทดลองประสบการณ์ใหม่ๆแล้ว ที่นี่ยังมีชีสเค้ก ซอฟท์ครีม รวมถึงแฮมเบอร์เกอร์ขายอีกด้วย

เบอร์เกอร์ของที่นี่ทำจากเนื้อวัวท้องถิ่น และหมูดำคุโรบุตะ โปะด้วยมะเขือเทศ Hiruzen และหัวหอม

สล็อต

  1. Mimasaka Black Soy Bean Burger ( เมือง Mimasaka)
    เบอร์เกอร์มังสวิรัตินี้ใช้ถั่วดำเป็นวัตถุดิบหลักในการทำแฮมเบอร์เกอร์ และยังใช้ผักท้องถิ่นอีกมากมายไม่ว่าจะเป็นผักกาด หัวหอม มะเขือเทศ
    Mimasaka Black Soy Bean Burger ได้รับรางวัลชนะเลิศจากองค์การบริหารการค้าและอุตสาหกรรมแห่งชุมชน Mimasaka ในการประกวด One-Piece Recipe Contest

ใครที่อยากลองเบอร์เกอร์มังสวิรัติชิ้นนี้สามารถไปได้ที่ Kitchen Kuromame ในเมือง Mimasaka เดินไปเพียง 5 นาทีจากสถานีรถไฟ Hayashino ของสาย Kishin Line

สล็อตออนไลน์

  1. Tsuyama Burger ( เมือง Tsuyama )
    เนื้อของเบอร์เกอร์ชิ้นนี้ทำขึ้นจากเนื้อวัว ผสมกับเนื้อหมูและเนื้อไก่ และมันเทศ โปะด้วยมะเขือเทศ Momotaro ส่งตรงจากฟาร์ม และใช้ซอสที่ทำจากซอสเดมิกลาสผสมกับแยมพีชขาว หนึ่งในของขึ้นชื่อของจังหวัด Okayama

คุณสามารถหาเบอร์เกอร์นี้ได้ตามร้านทั่วไปในเมือง Tsuyama แต่เราขอแนะนำร้าน Mugiwara Boshi ห่างไป 3 ก.ม.จากตะวันออกเฉียงเหนือของ สถานี Tsuyama

jumboslot

ดับกระหายด้วย Pepsi SAKURA!!

Suntory บริษัทผู้จัดจำหน่าย เป๊ปซี่ ในญี่ปุ่น เคยเปิดตัวเป๊ปซี่รสชาติแปลกอย่าง รสเลม่อนและมิ้นท์ และรสแตงโมผสมเกลือมาแล้ว ในคราวนี้บริษัทได้หยิบเอาหนึ่งในของขึ้นชื่อของญี่ปุ่น สัญลักษณ์แห่งฤดูใบไม้ผลิมาใช้ จนเกิดเป็น เป๊ปซี่รสซากุระ โดยเริ่มวางขายตั้งแต่วันที่ 8 มีนาคมที่ผ่านมานี้ ราคาขวดละ 140 เยน (ราว 45 บาท) โดยมีขายตามร้านสะดวกซื้อทั่วไป และจะวางขายแค่ในช่วงฤดูใบไม้ผลิเท่านั้น

slot

เป๊ปซี่รสนี้มีสีชมพูเหมือนกับสีของดอกซากุระที่กำลังบาน มีรสหวานและหอมกลิ่นซากุระ ฉลากแปะขวดสีดำสนิทโดยมีคำว่า “SAKURA“ ตัวใหญ่พาดไว้ตรงกลาง ประดับด้วยลวดลายดอกซากุระที่กำลังบาน และกลีบดอกซากุระปลิวสีชมพูสดใส ชวนให้ความรู้สึกของฤดูใบไม้ผลิแบบเท่ๆ กินคู่กันไปได้ไม่เบื่อทำให้น่ากิน

สารพัดหน้าซูชิยอดนิยม

ครั้งนี้จะมาบอกเล่าชื่อหน้าซูชิในภาษาญี่ปุ่นกันสักหน่อย พร้อมกับรายละเอียดวัตถุดิบที่ใช้ในเมนู เผื่อวันนึงคุณเข้าร้านซูชิไปสั่งอาหารแล้วพบว่าเมนูญี่ปุ่นนั้นไม่มีรูปให้ดูนั้นจะได้นำบทความนี้ไปปรับใช้เนอะ

海栗(うに:Uni)= ซูชิหน้าไข่หอยเม่น
เจ้าอุนิหรือไข่หอยเม่นนี้หน้าตาบนซูชิจะมีสีเหลืองตุ่น เนื้อของไข่หอยเม่นมีลักษณะเป็นเม็ดกลมเล็กมากๆ เรียงชิดติดกัน เนื้อค่อนข้างนิ่มมาก มีรสคาวเล็กน้อยและมีรสชาติที่เฉพาะตัวซึ่งหากใครได้ลองแล้วถ้าไม่เกิดอาการหลงรักรสชาติไปเลยก็อาจจะไม่ชอบไปเลย แต่ถือเป็นหนึ่งในหน้าซูชิยอดฮิตที่คนไทยชอบหาทานที่ญี่ปุ่น เพราะราคานำเข้าในไทยนั้นแสนแพงแถมเป็นวัตถุดิบที่ต้องทานกันสดๆอีกด้วย ซึ่งรสชาติของเขามีผลมากพอที่ทำให้คอเมนูซูชิควักตังค์จ่ายในราคาอันสูง ในร้านขายซูชิราคาประหยัดมักจะไม่มีขายด้วย

jumbo jili

เกร็ดเล็กน้อยที่อยากบอกนั้น แท้จริงแล้วไม่ใช่วัตถุดิบที่นำไข่ที่เป็นผลผลิตจากหอยเม่นเหมือนไข่ปลามาโปะบนข้าวแบบที่เราเข้าใจนะ แต่นั่นคืออวัยวะสืบพันธ์ของหอยเม่น คือถุงน้ำเชื้อหรือรังไข่นั่นเอง (นิยมกินทั้งสองเพศ แต่ถ้าดูดีๆจะเห็นว่าสีต่างกันเล็กน้อย) รู้อย่างนี้แล้วอย่าเพิ่งบูลลี่น้องนะ เพราะแท้จริงแล้วรสชาติของเขาอร่อยมาก

いくら (Ikura) = ซูชิหน้าไข่ปลาแซลม่อน
ไข่ปลาแซลม่อนเป็นหน้าซูชิที่แอบมีลูกเล่นในรสสัมผัส โดยลักษณะหน้านี้จะเป็นไข่ปลาลูกค่อนข้างใหญ่สีส้มใสมันวาวง เมื่อกัดชิมไปที่หน้าของซูชินี้รสที่ได้จะออกคาวธรรมชาติสักหน่อย เค็ม แถมมีความมันของตัวไข่ปลาที่เหมือนบับเบิ้ลนี้อีก ซึ่งถ้าวัตถุดิบยังสดอยู่กัดเข้าไปตัวไข่ก็จะแตกโพละได้ง่ายไม่เด้งหนี พร้อมรสชาติดังกล่าวก็จะทะลักออกมาด้วย ราคาเมนูนี้ในไทยมีหลายเกรดตามคุณภาพของวัตถุดิบเลย

สล็อต

鉄火巻 (てっかまき:Tekkamaki)= ข้าวห่อสาหร่ายไส้ปลาทูน่า
ข้าวห่อสาหร่ายไส้ปลาทูน่าหรือเทกกะมากิ เป็นซูชิที่ถือกำเนิดมานานตั้งแต่สมัยเอโดะ ภายในเป็นเนื้อปลาทูน่าแดงสดห่อด้วยข้าวญี่ปุ่นปรุงรสน้ำส้มสายชูแล้วห่อซูชิด้วยสาหร่ายทะเลขนาดพอดีคำ รสชาติออกหวานอร่อยสดจากทะเล หาซื้อได้ง่ายทั้งในไทยและญี่ปุ่นราคาไม่แพงอีกด้วย

飛び子 (とびこ : Tobiko) = ไข่ปลาบิน
มาถึงวัตถุดิบหน้าซูชิที่คนไทยคุ้นเคยกันบ้างสำหรับซูชิหน้าไข่ปลาบิน หรือชื่อเล่นที่คนไทยตั้งให้เรียกว่า “ซูชิหน้าไข่กุ้ง” ซึ่งที่จริงแล้วไม่ได้ทำมาจากไข่กุ้งแต่อย่างใด เจ้าไข่ปลาบินนี้จะมีลักษณะเป็นไข่ปลากลมใสเม็ดเล็กเรียงแน่นบนหน้าซูชิเมื่อกัดชิมเข้าไปจะมีความกรุบเล็กน้อย ไข่ปลาบินจะถูกนำมาย้อมเป็นสีต่างๆ ได้แก่ สีส้ม สีแดง สีเขียว และสีดำโดยใช้สีจากธรรมชาติ นอกจากนี้หน้าไข่ปลาบินแบบออริจินัลดังกล่าวแล้วก็พบได้ในหน้าซูชิแบบฟิวชั่นผสมผสานกับวัตถุดิบอื่นได้อีก เช่น ชีส มายองเนส(มาโย) วากาเมะ และยังนิยมใช้กับซูชิฟิวชั่นยอดนิยมอย่างแคลิฟอร์เนียมากิด้วย

สล็อตออนไลน์

穴子寿司 (あなごすし :Anago Sushi)= ซูชิหน้าปลาไหลทะเลย่าง/ซูชิหน้าปลาไหลอะนาโกะย่าง
ปลาไหลทะเลย่างทาซอสกลิ่นหอมยั่วน้ำลาย จัดวางเนื้อปลาเป็นแนวยาวบนข้าวซูชิ เป็นเมนูที่หน้าตาคล้ายกับปลาไหลน้ำจืดญี่ปุ่น (อุนางิ) ราวกับพี่น้องที่พลัดพราก แต่เนื้อของปลาไหลชนิดนี้มีสีขาวสวยสัมผัสนุ่มกว่าอุนางิเล็กน้อย ถือเป็นเมนูหน้าตาที่คุ้นเคยแต่รสชาติแปลกใหม่ที่ควรไปลองทานกัน ร้านซูชิในไทยที่จะมีเมนูซูชิอะนาโกะโดยส่วนใหญ่จะเป็นร้านราคาเมนูกลางกระทั่งสูง (แต่ถูกกว่าอุนางิ) เพราะต้องคงคุณภาพความสดของปลาไหลชนิดนี้ถึงจะหวานอร่อยนั่นเอง

炙りホタテ寿司 (あぶりホタテすし:Aburi Hotate sushi) = ซูชิหน้าหอยเชลล์ย่าง
หอยเชลล์สดๆของญี่ปุ่นถูกวางบนซูชิพร้อมกับการเสริฟโดยลนไฟบนเนื้อหอยเชลล์หอมๆ ซึ่งแต่ละร้านจะมีไอเดียในสร้างสรรค์เมนูก่อนรนไฟหรือรมควันต่างกันอาทิ ใส่เนยสด ใส่ชีส ย่างซอสเมนไทโกะ เป็นต้น โดยมีรสชาติของหอยเชลล์ที่หวานหอมเนื้อละมุน เป็นเมนูที่นิยมทานทั้งในไทยและญี่ปุ่น ที่ไม่ว่าจะราคาสูงแค่ไหนเหล่าคอซูชิก็พร้อมสู้ราคา
แน่นอนว่าแบบไม่ย่างก็มีเช่นกัน

jumboslot

鮪 (まぐろ:Maguro) = ซูชิหน้าทูน่า/ซูชิหน้าปลามากุโร่
มากุโร่คือคำเรียกรวมๆของหน้าปลาทูน่าดิบสีแดงสุดคลาสสิค และจะมีชื่อเรียกแต่ละส่วนที่นำมาทำแตกต่างกัน อาทิ ส่วนท้องหรือโอโทโระ (大トロ:Otoro) ที่จะมีมันแทรกพอสมควรทำให้มีสีแดงอ่อนๆ ส่วนเนื้อแดงหรือจูโทโระ (中トロ:Chutoro) ที่มีไขมันปานกลาง และส่วนเนื้อแดงเข้มหรืออาคามิ (赤身:Akami) ที่มีไขมันน้อยเหมาะสำหรับคนรักสุขภาพ เป็นต้น

太巻き寿司 (ふとまきすし:Futomaki sushi) = ฟูโตมากิซูชิ
ฟูโตมากิซูชิ เป็นคำเรียกรวมๆข้าวปั้นซูชิที่ม้วนด้วยสาหร่ายแผ่นซึ่งมีขนาดใหญ่และหนาเหมือนชื่อของเขา (ฟูโต แปลว่าอ้วน) ภายในประกอบด้วยไส้ผักและเนื้อสัตว์ครบทั้ง 2 ชนิดรวมหลายอย่างในโรลเดียวกัน อาทิ แตงกวา เห็ด ผักดอง แครอท ไข่หวาน ไข่ปลาบิน โอโทโร่ เป็นต้น ถือกำเนิดว่าตั้งแต่สมัยเอโดะแล้วเป็นของดีพื้นเมืองของจังหวัดชิบะอีกด้วย เป็นที่รู้จักในฐานะเมนูซูชิที่อิ่มจนจุกราคาย่อมเยาว์

slot

くるまえび (Kuruma Ebi) = ซูชิกุ้งลายเสือ
กุ้งลายเอต้มสุกชิ้นโตถูกผ่าเอาส่วนกลางตัวออกแล้วจัดวางบนข้าวปั้นรสชาติหวานเนื้อแน่นกำลังดีถือเป็นเมนูที่ได้รับความนิยมเช่นกัน ยิ่งทานคู่กับวาซาบิและโชยุจะเพิ่มรสชาติให้อร่อยยิ่งขึ้น บางร้านอาจใช้คำว่าเอบิซูชิแบบปกติโดยไม่บอกชนิดของกุ้งที่นำมาเป็นวัตถุดิบ เหมาะสำหรับใครที่อยากทานซูชิกุ้งชิ้นใหญ่เต็มคำ ราคาต่อคำในไทยอาจแพงคำละหลักร้อยแต่ถ้าไปทานที่ญี่ปุ่นก็หาร้านราคาสบายกระเป๋าได้ไม่ยาก คนญี่ปุ่นชอบการท่องเที่ยวและการกินมาก

หาเพื่อนญี่ปุ่นกัน : มารยาทโต๊ะอาหารแบบญี่ปุ่น

แต่ละประเทศก็มีวัฒนธรรมที่ต่างกันไป ประเทศญี่ปุ่นก็เป็นประเทศหนึ่งที่ให้ความสำคัญเรื่องขนบธรรมเนียมและมารยาทเป็นอย่างมาก เราจึงควรเรียนรู้และปฏิบัติตามของเขาเพื่อเป็นการให้เกียรติและเข้ากันได้ดีอย่างไม่ต้องอึดอัดใจ

เรื่องมารยาทบนโต๊ะอาหารญี่ปุ่นนั้นยังมีหลายคนที่ปฏิบัติด้วยความเข้าใจผิด ดังนั้นจึงถือโอกาสมาแนะนำมารยาททั่วไปที่พึงปฏิบัติบนโต๊ะอาหาร

มารยาทบนโต๊ะอาหาร

jumbo jili

1 วิธีใช้ตะเกียบที่ถูกต้อง
อุปกรณ์รับประทานอาหารที่สำคัญของญี่ปุ่นคือตะเกียบ จึงควรใช้ให้ถูกต้องและพึงระวังว่าไม่ควรใช้ตะเกียบเหมือนเป็นช้อน มีด หรือส้อม วิธีใช้ตะเกียบและข้อควรระวังง่ายๆ มีดังนี้
1 ไม่ควรใช้ตะเกียบเขี่ยเพื่อเลื่อนจานชามให้มาใกล้ตัว
2 ไม่ปักตะเกียบบนข้าวเพราะถือเป็นการให้อาหารคนตาย
3 ระหว่างรับประทานหากต้องการพักให้วางตะเกียบลงบนที่วางตะเกียบ
4 หากไม่มีให้พับซองตะเกียบเพื่อใช้วางแทน
5 และเมื่อรับประทานอาหารเสร็จแล้วให้วางตะเกียบที่ด้านข้างเยื้องไปข้างหน้าจะเป็นการสุภาพที่สุด

สล็อต

2 ห้ามเอาศอกเท้าโต๊ะ
เวลารับประทานอาหารร่วมโต๊ะกับคนญี่ปุ่น ควรนั่งอย่างสำรวม ไม่เอาศอกเท้าบนโต๊ะเพราะเป็นการทำเสียมารยาท ควรถือชามข้าวหรือถ้วยซุปขณะรับประทานอาหารจึงเป็นมารยาทที่ถูกต้อง โดยยกชามหรือถ้วยขึ้นมาอยู่ในระดับอก

3 ผ้าเย็นสำหรับเช็ดมือเท่านั้น
ญี่ปุ่นมีธรรมเนียมการเสิร์ฟผ้าเย็น เป็นผ้าขนหนูผืนเล็กที่แช่ไว้ในตู้เย็นสำหรับเช็ดมือ ผ้าดังกล่าวไว้ใช้สำหรับทำความสะอาดมือเท่านั้น ไม่นำมาใช้ซับเหงื่อ เช็ดหน้า ลำคอ ขา โต๊ะ และของใช้อื่นๆ

4 เมนูเส้นซดมีเสียงได้
เมื่อรับประทานอาหารที่เป็นเมนูเส้นๆ เช่น โซบะ อุด้ง ราเม็ง คนญี่ปุ่นมักจะซดเสียงดังมาก ในการดูดเส้นเสียงดังแบบนี้ไม่ถือเป็นการเสียมารยาทเนื่องจากการซดเสียงดังเป็นการแสดงถึงความอร่อยของอาหารเส้น และเป็นการให้เกียรติพ่อครัว

สล็อตออนไลน์

5 ของที่กัดแล้วห้ามใส่คืนในจาน
อาหารที่หยิบมารับประทานและกัดลงไปแล้วไม่ควรเอากลับคืนไปวางบนจานอีก สำหรับเรื่องนี้ไม่ใช่แค่ตามมารยาทอย่างเดียวเนื่องจากมีหลายคนถือ อีกทั้งโดยสามัญสำนึกแล้วก็เป็นเรื่องน่ารังเกียจที่เอาของเหลือจากตัวเองไปให้คนอื่นรับประทานต่อ ให้คีบอาหารชิ้นนั้นค้างไว้จนกว่าจะรับประทานจนหมดชิ้น รวมไปถึงไม่ควรใช้ตะเกียบสัมผัสส่วนใดส่วนหนึ่งของอาหารที่ตัวเองรับประทานไม่ได้ด้วย ให้คีบเฉพาะของที่ตัวเองจะกินเท่านั้น

6 มารยาทในการรับประทานซาชิมิและซูชิ
การรับประทานซาชิมิกับซูชิโดยปกติแล้วจะรินโชยุใส่จานเล็กพอประมาณ ทาวาซาบิลงบนชิ้นซูชิหรือซาชิมิที่ต้องการโดยตรง ไม่ละลายวาซาบิลงในโชยุ ถ้าเป็นซูชิให้จิ้มโชยุด้านที่เป็นเนื้อปลาไม่ใช่ด้านที่เป็นข้าวเพราะข้าวอาจแตกกระจายได้ และรับประทานให้หมดภายในคำเดียว สามารถใช้มือแทนตะเกียบได้

jumboslot

7 กล่าวคำว่า “อิตะดะคิมัส” ก่อนรับประทานอาหาร
“อิตะดะคิมัส (Itadakimasu)” เป็นประโยคที่น่าจะคุ้นหูใครต่อใครดี มีความหมายว่าขอรับอาหารมื้อนี้ กล่าวเพื่อแสดงความรู้สึกขอบคุณต่อพ่อครัว บรรดาเกษตรกรทั้งหลายที่ทำการเพาะปลูกวัตถุดิบในจาน และขอบคุณต่อวัตถุดิบทุกประเภทที่ได้สละชีวิตมาเป็นอาหาร

8 กล่าวคำว่า “โกะจิโซซามะเดชิตะ” หลังรับประทานอาหารเสร็จ
เมื่อรับประทานอาหารเสร็จเรียบร้อย คนญี่ปุ่นก็มีคำกล่าวเป็นธรรมเนียมเหมือนเช่นตอนก่อนรับประทาน “โกะจิโซซามะเดชิตะ (Gochisousamadeshita)” คือคำที่ควรกล่าว แปลได้ว่า “ขอบคุณสำหรับมื้ออาหาร” เพื่อแสดงความซาบซึ้งในความเหนื่อยยากของผู้ที่ประกอบอาหารนั้นในทุกฝ่าย

slot

9 น้ำซุปไม่มีช้อนให้
ชุดอาหารญี่ปุ่นมักจะมีน้ำซุปมาด้วย แต่ไม่มีช้อนให้เนื่องจากคนญี่ปุ่นยกถ้วยขึ้นดื่ม มารยาทที่ดีในการดื่มซุปคือใช้มือซ้ายประคองด้านข้างถ้วยซุป ส่วนมือขวาเปิดฝาถ้วย วางหงายฝาเอาไว้ด้านขวามือของถ้วย และเมื่อรับประทานเสร็จแล้วก็ให้ปิดฝากลับไปเหมือนเดิม

10 ตำแหน่งในการนั่งรับประทานอาหาร
เมื่อมีงานเลี้ยงรับประทานอาหารร่วมกันในห้องส่วนตัว ควรจัดให้แขกคนสำคัญ ผู้หลักผู้ใหญ่ และเจ้านายอาวุโสนั่งไกลจากประตู หรือที่นั่งนั้นสามารถมองเห็นวิวสวยๆ ได้ถนัด แบบนี้ถือเป็น “ที่นั่งสูง” เพื่อเป็นการให้เกียรติ ส่วนที่นั่งซึ่งอยู่ใกล้ประตูมากที่สุดถือเป็น “ที่นั่งต่ำ” สำหรับผู้ร่วมงานที่อายุน้อยกว่า เด็กกว่า คนญี่ปุ๋นจะทำตามวัตนธธรรมของเขาแบบเค่งคัดเสมอ

รู้จักอาหารหลักญี่ปุ่น 5 ชนิด

ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่ขึ้นชื่อเรื่องอาหารการกินที่อุดมสมบูรณ์ และอาหารญี่ปุ่นก็มีให้เลือกรับประทานหลากหลายเมนู ทำจากวัตถุดิบที่เน้นคุณภาพสูงและความสดใหม่ ทำให้เป็นหนึ่งในวัฒนธรรมอาหารที่เป็นที่นิยมของคนทั่วโลก ในหัวข้อนี้จะขอแนะนำอาหารญี่ปุ่นน่าลิ้มลอง 10 ประเภท ที่มีลักษณะเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวตั้งแต่กรรมวิธีการทำจนถึงวิธีรับประทาน

jumbo jili

  1. ซูชิ (Sushi)
    ซูชิ คืออาหารที่ทำขึ้นด้วยการนำชิ้นปลาดิบประเภทต่างๆแล่เป็นชิ้นพอดีคำและวางบนข้าวที่ปั้นเป็นก้อนขนาดใกล้เคียงกันซึ่งข้าวที่นำมาทำซูชินั้นจะมักจะมีส่วนผสมของน้ำส้มสายชูและวาซาบิ สำหรับซูชิที่ไม่ใส่วาซาบิจะมีชื่อเรียกว่า วาซาบินุกิ (Wasabi Nuki) นอกจากปลาดิบที่วางบนข้าวแล้วก็ยังมีหน้าแบบอื่นๆ ด้วย เช่นกุ้ง ปลาหมึก แตงกวา หัวไชเท้าดอง ไข่หวาน เห็ด หรือเนื้อวัวเป็นต้น เวลารับประทานนิยมจิ้มกับโชยุหรือวาซาบิเพื่อให้ได้รสชาติที่อร่อยยิ่งขึ้น

สำหรับครอบครัวญี่ปุ่น ซูชินั้นไม่ใช่อาหารที่ทำกินกันเองตามบ้านเป็นประจำทุกวัน แต่เป็นอาหารที่กินกันในโอกาสพิเศษเป็นหลัก

สล็อต

  1. ราเมน (Ramen)
    ราเมน หนึ่งในเมนูอาหารเส้นยอดนิยมในชีวิตประจำวันของชาวญี่ปุ่นซึ่งเป็นอาหารที่ได้รับการเผยแพร่มาจากจีน จุดเด่นของราเมนอยู่ที่น้ำซุปที่มีหลายรสชาติ เช่น น้ำซุปเกลือ (Shio), น้ำซุปเต้าเจี้ยวญี่ปุ่น (Miso), น้ำซุปจากโชยุ (Shoyu), หรือน้ำซุปจากการเคี่ยวกระดูกหมู (Tonkotsu) โดยนอกจากซุปมาตรฐานสี่อย่างแล้ว ยังมีราเมนสูตรเฉพาะในแต่ละท้องถิ่นทั่วประเทศอีกด้วย ในชามราเมนนอกจากเส้นกับน้ำซุปแล้วก็ยังมีเครื่องเคียงต่างๆ เช่นชาชูหรือหมูสไลด์ เนื้อวัว สาหร่ายทะเล ไข่ต้ม ต้นหอม หน่อไม้ และผักต่างๆ

สล็อตออนไลน์

  1. ทงคัตสึ (Tonkatsu)
    คือเนื้อหมูสันนอกหั่นชิ้นหนาเล็กน้อย ชุบกับไข่และแป้งปรุงรส คลุกเกล็ดขนมปัง ก่อนจะนำลงไปทอดในน้ำมันร้อนจัดให้กรอบนอกนุ่มใน

นี่เป็นอาหารยอดนิยมอย่างนึงที่มักจะทำรับประทานเองกันที่บ้าน เวลาเสิร์ฟก็มักจะมีซอสสูตรพิเศษที่เป็นซอสของทงคัตสึโดยเฉพาะ รสชาติออกหวานอมเปรี้ยว หรือจะรับประทานกับซอสผสมมิโสะก็ได้ แล้วก็มีเครื่องเคียงยอดนิยมเป็นกะหล่ำปลีหั่นเป็นเส้น (อาจจะใส่น้ำสลัดเพิ่มตามชอบ) นอกจากนี้หากนำไปรับประทานโดยโปะบนข้าวสวย พร้อมน้ำซุปดาชิกับไข่ข้นราดบนข้าว ก็จะเรียกว่า คัตสึด้ง ซึ่งเป็นเมนูที่ได้รับความนิยมไม่แพ้กัน

jumboslot

  1. นิคุจากะ (Nikujaga)
    วัตถุดิบหลักสองอย่างคือเนื้อวัวต้มกับมันฝรั่งในน้ำซุปดาชิ เรียกได้ว่าเป็นสตูว์ในสไตล์ญี่ปุ่น และมักจะมาพร้อมกับส่วนประกอบอื่นๆอีกหลายอย่าง แครอท หอมหัวใหญ่ ถั่วลันเตา ปรุงรสด้วยน้ำตาล โชยุ สาเก มิริน เมื่อทำเสร็จแล้วจะมีกลิ่นหอมและมักจะมีสีน้ำตาล หรือบางที่อาจเพิ่มสีสันสดใสด้วยผักหลายชนิด นิยมรับประทานกันในฤดูหนาวเพื่อช่วยทำให้ร่างกายอบอุ่น

นอกจากนี้นิคุจากะยังเป็นอาหารญี่ปุ่นแบบดั้งเดิมที่จัดอยู่ในประเภทอาหารครอบครัว ที่ส่วนใหญ่จะทำรับประทานกันเองในบ้าน และไม่ได้เป็นอาหารชื่อดังที่ชาวต่างชาตินิยมสั่งตามร้านอาหาร แต่เราก็อยากแนะนำให้ทุกท่านลองสั่งดูซักครั้ง

slot

  1. โซบะ (Soba)
    คืออาหารเส้นที่ทำมาจากแป้งบัควีต และเมนูที่ทำจากโซบะก็มีหลากหลายรูปแบบ อีกทั้งยังมีแบบร้อนกับแบบเย็นให้ได้เลือกรับประทานตามฤดูกาล

โซบะสามารถหารับประทานได้ทั่วไปในญี่ปุ่นทั้งในท้องถิ่นและตามเมืองใหญ่ มีเครื่องเคียงหลายแบบเช่น วาซาบิ เทมปุระ อินาริซูชิ (เต้าหู้ทอดห่อข้าว) เนื้อปลาโอตากแห้ง (Katsuobushi) หรือจะนำโซบะไปทำเป็นอาหารอย่างอื่นเลยก็ได้ เช่น นำไปใส่ในแกงกะหรี่

ความพิเศษอีกอย่างของโซบะก็คือ วิธีกินหลายวิธีมีการแยกซอสที่จุ่มเส้นกับเส้นออกจากกัน สามารถจุ่มซอสเพื่อเพิ่มรสชาติความอร่อยได้ เช่นซอสโซบะสึยุ อีกทั้งน้ำต้มโซบะก็มีคุณค่าทางอาหารมาก นิยมรับประทานเป็นน้ำซุปด้วย คนญี่ปุ่นถือการกินนี้เป็นวัตธนธรรมสืบต่อกันมา

รู้จักวัตถุดิบเฉพาะของอาหารญี่ปุ่น 10 ชนิด

ปัจจุบันคนไทยส่วนใหญ่น่าจะคุ้นเคยกับอาหารญี่ปุ่นกันเป็นอย่างดีแล้ว แต่ก็อย่างที่เชฟหลายคนบอกไว้ว่าการรู้จักวัตถุดิบในอาหารแต่ละชนิด จะยิ่งทำให้เราได้รู้คุณค่าและเข้าใจความอร่อยมากขึ่้นกว่าเดิม วันนี้เราจึงพาไปทำความรู้จักกับวัตถุดิบ 10 ชนิดที่พบได้บ่อยในเมนูอาหารญี่ปุ่นทั่วไป ซึ่งจะทำให้การกินอาหารญี่ปุ่นครั้งหน้าของคุณอร่อยขึ้นกว่าเดิมอย่างแน่นอน

  1. วาซาบิ (Wasabi)
    หนึ่งในวัตถุดิบญี่ปุ่นซึ่งคนไทยน่าจะรู้จักกันมากที่สุด แม้จะมีรสชาติที่ใกล้เคียงกับพริก แต่ความเผ็ดร้อนของวาซาบินั้นก็มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวตรงที่ไม่ได้เผ็ดร้อนบริเวณลิ้น แต่เป็นความเผ็ดแบบฉุนขึ้นจมูกจนอาจทำให้น้ำตาไหลได้หากทานในปริมาณที่มากเกินไป
    แต่ต้องบอกว่าวาซาบิส่วนใหญ่ที่เราได้กินกันจะไม่ใช่วาซาบิแท้หรือวาซาบิสด แต่จะเป็นวาซาบิเทียมที่ทำมาจากฮอร์สแรดิชผสมกับผงมัสตาร์ดและแป้ง เนื่องจากมีราคาถูกกว่า และเก็บได้นานกว่าวาซาบิสด โดยทั่วไปจะมีเฉพาะร้านอาหารหรูๆหรือร้านซูชิราคาแพงเท่านั้นที่เสิร์ฟวาซาบิสดให้ ซึ่งจะได้กลิ่นที่หอมกว่า และให้รสเผ็ดแสบยาวนานกว่าวาซาบิ

jumbo jili

เทียม โดยจะเห็นได้จากการนำต้นวาซาบิมาฝนกับหนังฉลาม ซึ่งต้นวาซาบิจริงๆหนึ่งต้นที่นำมาใช้นั้นมีราคาค่อนข้างสูง (หลายร้อยถึงหลักพันบาท) สาเหตุที่มีราคาแพงก็เพราะว่าวาซาบิเป็นพืชที่ปลูกได้ยาก โดยมีเงื่อนไขหลักคือต้องปลูกในที่ดินที่มีน้ำสะอาดไหลผ่าน และน้ำจะต้องมีอุณหภูมิประมาณ 13-18 องศา แม้ในประเทศญี่ปุ่นเองก็พื้นที่มีเพียงไม่กี่แห่งเท่านั้นที่สามารถปลูกวาซาบิได้
เมนูที่ทุกคนคุ้นเคยกันดีกับการทานคู่กับวาซาบิก็คือ “ซูชิ” สาเหตุเป็นเพราะวาซาบินั้นมีคุณสมบัติช่วยขจัดแบคทีเรียและพยาธิต่างๆ ที่อาจหลงเหลืออยู่บนเนื้อปลาดิบ และรสเผ็ดร้อนของมันยังช่วยดับกลิ่นคาวปลาอีกด้วย นอกจากการเป็นเครื่องเคียงแล้ว ยังนิยมเอาวาซาบิไปผสมกับน้ำสลัดหรือมายองเนส เพื่อเอาไปทานคู่กับสลัด แซนด์วิช ไปจนถึงขนมญี่ปุ่นหลายชนิดที่นำวาซาบิไปผสมเพื่อให้มีสีเขียวอ่อนน่าทาน และเป็นผงสร้างรสชาติของขนมคบเคี้ยวยี่ห้อดังๆ อีกมากมาย

  1. คินาโกะ (Kinako)
    คินาโกะ หรือผงถั่วเหลืองคั่ว เป็นวัตถุดิบที่เอาไว้ทานคู่กับขนมญี่ปุ่นมายาวนานหลายร้อยปี โดยในอดีตนั้นจะนำมาคลุกหรือทานคู่กับขนมโมจิและดังโงะ ส่วนคนไทยอาจจะคุ้นเคยจากการทานคู่กับโมจิหยดน้ำที่ได้รับความนิยมอย่างมากในช่วงหลายปีมานี้ โดยจุดเด่นและเหตุผลในการใช้คินาโกะคู่กับขนมต่างๆ คือการช่วยเพิ่มเนื้อสัมผัสให้กับขนม และเพิ่มความหอมที่ได้มาจากการคั่ว หากมองเผินๆ หลายคนอาจเข้าใจผิดว่าคินาโกะเป็นน้ำตาลทรายแดง หรือคิดว่ามีการผสมน้ำตาลเข้าไปด้วย แต่รสหวานที่ได้นั้นส่วนใหญ่มาจากตัวขนม ตัวคินาโกะไม่ได้มีความหวานมากไปกว่าความหวานธรรมชาติของถั่วเหลือง

สูตรในการทำคินาโกะนั้นใช้แค่ถั่วเหลืองเพียงอย่างเดียวนำไปคั่วด้วยไฟกลางบนกระทะจากนั้นจึงนำไปปั่นด้วยเครื่อง ไม่มีการผสมวัตถุดิบอื่นเข้าไปอีก และนอกจากการนำไปทานคู่กับขนมแล้ว คนญี่ปุ่นยังนำคินาโกะไปโรยหน้าอาหารชนิดอื่นๆ อีกทั้งนมถั่วเหลือง โยเกิร์ต หรือสลัด เป็นต้น

สล็อต

  1. คัตสึโอะ บุชิ (Katsuobushi)
    คัตสึโอะ บุชิ หรือปลาคัตสึโอะตากแห้ง เป็นอีกหนึ่งวัตถุดิบสำคัญของเมนูอาหารญี่ปุ่นมากมายที่ช่วยสร้างความหอมและรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ซึ่งกว่าจะมาเป็นคัตสึโอะ บุชินั้น กรรมวิธีในการผลิตคือต้องนำเนื้อปลาคัตสึโอะ (ปลาทูน่าชนิดหนึ่ง) แบบไม่มีไขมันผสม มารมควัน ตากแห้ง และหมักด้วยเชื้อรา จนเนื้อปลาแปรสภาพเป็นก้อนดำๆ แข็งๆ เหมือนท่อนไม้

เมื่อจะนำมาใช้ประกอบอาหาร ก็จะต้องนำก้อนเนื้อปลานี้มาขูดให้เป็นแผ่นบางๆ ซึ่งคัตสึโอะ บุชินั้นนิยมนำไปใช้ในสองรูปแบบหลักๆ คือโรยหน้าอาหาร เช่นโอโคโนมิยากิ ทาโกะยากิ และนำไปเป็นส่วนผสมในการทำน้ำซุปดาชิ ซึ่งเป็นน้ำซุปพื้นฐานของอาหารประเภทต้มแทบทั้งหมดของญี่ปุ่น จึงเรียกได้ว่าเป็นหัวใจของอาหารญี่ปุ่นและเป็นวัตถุดิบที่ต้องมีทุกบ้าน

  1. คอมบุ (Kombu)
    จากที่ได้พูดถึงน้ำซุปดาชิ น้ำซุปพื้นฐานในการทำอาการประเภทต้มของญี่ปุ่นแทบทุกเมนูไป ซึ่งส่วนผสมหลักของน้ำซุปดาชินอกจากจะใช้คัตสึโอะ บุชิแล้ว ก็ยังมีสาหร่ายคอมบุเป็นอีกหนึ่งส่วนผสมหลัก โดยจุดเด่นของสาหร่ายคอมบุคือรสสัมผัสที่เหนียว หนึบ และช่วยเก็บรสชาติของน้ำซุปเอาไว้ได้เป็นอย่างดี และยังได้รับฉายาว่าเป็น “เจ้าแห่งสาหร่าย” ในบรรดาสาหร่ายหลากหลายชนิดของญี่ปุ่น เนื่องจากมีรส ”อูมามิ” อยู่ในตัว เมื่อนำไปประกอบอาหารอย่างอื่นแล้วจึงทำให้อร่อยได้ง่าย รูปแบบของสาหร่ายคอมบุที่ได้รับความนิยมมากที่สุดก็คือแบบอบแห้ง ซึ่งสามารถเก็บไว้ได้นาน นอกจากการนำไปต้มกับน้ำซุปแล้ว ยังนิยมนำไปหั่นเป็นเส้นๆ แล้วใส่เป็นส่วนผสมในเมนูต้มต่างๆ หรือใส่ในสลัดรวมกับผักชนิดอื่นๆ

สล็อตออนไลน์

  1. มิโสะ (Miso)
    มิโสะ หรือเต้าเจี้ยวบด เป็นอีกหนึ่งวัตถุดิบประจำครัวญี่ปุ่นที่คนไทยหลายคนเองก็คงคุ้นเคยจากเมนู “ซุปมิโสะ” ที่มักจะเสิร์ฟคู่กับอาหารญี่ปุ่นทุกครั้ง แต่รสชาติอันเข้มข้นของมิโสะก็ยังถูกนำไปสร้างสรรค์เป็นเมนูต่างๆได้อีกมากมาย หนึ่งในนั้นที่พบอย่างแพร่หลายก็คือการนำไปใช้เป็นหนึ่งในประเภทน้ำซุปหลักของราเม็งที่เรียกว่า “มิโสะราเม็ง” น้ำซุปสำคัญของราเม็งญี่ปุ่นที่เป็นที่นิยมสูงคู่กับ “โชยุราเม็ง” (ซีอิ๊ว) หรือ “ชิโอะราเม็ง” (เกลือ) และยังนิยมนำไปทำเป็นซอสของอาหารอีกหลายๆ ประเภท ทั้งเมนูปิ้ง ย่าง ซุป แม้ว่าในปัจจุบันคนส่วนใหญ่จะนิยมซื้อมิโสะแบบสำเร็จรูปตามซูเปอร์มาเก็ตเป็นหลัก เนื่องจากกรรมวิธีในการหมักนั้นใช้เวลายาวนานหลายเดือน

ในประเทศญี่ปุ่นนั้น แต่ละภูมิภาค แต่ละเมืองต่างก็มีสูตรในการหมักมิโสะแตกต่างกันออกไป ทำให้ถึงแม้ว่าจะเป็นอาหารที่เรียบง่าย แต่ก็มีความหลากหลาย และสะท้อนถึงวัฒนธรรมท้องถิ่นในแต่ละพื้นที่ได้เป็นอย่างดี

  1. ชิโสะ (Shiso)
    ชิโสะ เป็นพืชในตระกูลเดียวกับกระเพราและโหระพา ซึ่งมีใบที่มีกลิ่นฉุน และแบ่งออกเป็นสองชนิดหลักๆ ตามสีของใบก็คือชิโสะแดงและชิโสะเขียว แต่คนไทยจะคุ้นเคยกับการนำใบชิโสะมาตกแต่งจานอาหารญี่ปุ่นกันมากกว่าจะได้ลิ้มรสจริงๆ (เช่นนำมารองซูชิ) เพราะรูปทรงของใบชิโสะนั้นมีความสวยงาม มีขนาดใหญ่พอเหมาะสำหรับวางซาชิมิหรือซูชิ และยังมีสรรพคุณช่วยดับกลิ่นคาวได้อีกด้วย

แต่นอกจากการนำมาประดับจานแล้ว ที่ญี่ปุ่นนั้นนิยมนำใบชิโสะแดงไปเป็นส่วนผสมสีในของหมักดองหลายๆ ชนิดเช่นบ๊วยดอง หรือขิงดอง หรือนำไปตากแห้งแล้วบดเป็นผงโรยข้าวสไตล์ญี่ปุ่น และด้วยสรรพคุณในการรักษาโรค แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ จึงมีการนำไปชิโสะไปต้มเป็นชา หรือน้ำใบชิโสะที่ช่วยสร้างความสดชื่นได้เป็นอย่างดี

jumboslot

  1. โทบิโกะ (Tobiko)
    คนไทยอาจเรียกไข่ชนิดนี้ว่า “ไข่กุ้ง” แต่ที่จริงแล้วไข่ที่ว่านี้มาจากไข่ของปลาสองชนิด คือปลาแคปลินหรือปลาไข่ และปลาบิน (Flying Fish) ส่วนไข่กุ้งที่ญี่ปุ่นจะเรียกว่า “เอบิโกะ” และมีราคาค่อนข้างแพง

รสสัมผัสของโทบิโกะเมื่อเคี้ยวจะรู้สึกกรุบๆ และมีรสชาติเค็มนิดๆ เรามักจะเห็นไข่โทบิโกะนี้เสิร์ฟมาในรูปแบบซูชิทั้งแบบห่อสาหร่าย หรือแบบที่นำข้าวไปคลุกกับไข่ปลาโดยรอบ ด้วยสีสันที่สดใสและรสชาติที่ไม่โดดเด่นมาก ทำให้โทบิโกะถูกนำมาใช้กับอาหารอีกหลายประเภท ส่วนใหญ่คือเพื่อสร้างสีสันและความน่าสนใจให้กับอาหาร มักจะพบในการเอาไปโรยหน้าบนสลัด ข้าว เมนูอาหารทะเลต่างๆ รวมถึงสปาเกตตี้แบบญี่ปุ่นด้วย

  1. คามาโบโกะ (Kamaboko)
    คามาโบโกะ หากเรียกให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ “ลูกชิ้นปลาญี่ปุ่น” แม้ว่าจะมีวิธีการผลิตคล้ายกันคือนำเนื้อปลามาบดผสมกับแป้งและเกลือเล็กน้อย แต่จุดประสงค์หลักในการใช้ประกอบอาหารนั้นมีความแตกต่างกันอย่างมาก และยังมีความพิเศษตรงที่คามาโบโกะนั้นมีสีสันที่สวยงามสะดุดตา ทำให้คามาโบโกะนั้นมีไว้ตกแต่งจาน มากกว่าจะใส่ไปเยอะๆเพื่อกินเอาอิ่ม แบบลูกชิ้นทั่วไป

โดยคนไทยอาจจะคุ้นเคยจากร้านราเม็งชื่อดังในเมืองไทยที่เสิร์ฟราเม็งพร้อมกับคามาโบโกะที่เป็นรูปเลข 8 มาให้ทุกชาม และนอกจากการเสิร์ฟในชามราเมงแล้ว คนญี่ปุ่นยังนิยมนำไปตกแต่งข้าวกล่อง หรือกินเล่นๆ ก็ได้ และในบางเมืองที่มีการผลิตคามาโบโกะกันอย่างจริงจัง ในช่วงเวลาพิเศษก็ยังมีการผลิตคามาโบโกะที่หั่นออกมาแล้วเป็นรูปสวยๆ เช่นซากุระในฤดูใบไม้ผลิอีกด้วย

slot

  1. เทนคาสุ (Tenkasu)
    เทนคาสุ คือแป้งทอดสำหรับเอาไว้โรยหน้าอาหารชนิดต่างๆ โดยเฉพาะ “ทานุกิอุด้ง” ที่ถือเป็นสูตรบังคับที่ต้องโรยเทนคาสุลงไปด้วย แต่ในปัจจุบันก็มีการนำมาโรยหน้าอาหารอื่นๆ เช่นบนทาโกะยากิหรือโอโคโนะมิยากิ

ลักษณะของเทนคาสุจะเป็นเหมือนเศษแป้งทอดชิ้นเล็กๆ จุดประสงค์หลักคือเพื่อเอาไว้เพิ่มรสสัมผัสของความกรุบกรอบของอาหาร หากเปรียบเทียบกับอาหารไทย ก็คงจะคล้ายๆ “กากหมู” ที่เอาไว้โรยหน้าเมนูก๋วยเตี๋ยว แต่รสชาติอ่อนกว่า โดยเทนคาสุนั้นไม่ใช่เศษแป้งทอดที่เหลือมาจากการทอดอาหารชนิดอื่นๆ แต่จงใจทำขึ้นจากการนำแป้งเทมปุระหรือแป้งสำหรับชุบแป้งทอดชนิดอื่นๆ มาทอดโดยเฉพาะ และสำหรับคนที่ไม่มีเวลาทอดเอง ที่ญี่ปุ่นก็ยังมีขายเทนคาสุแบบสำเร็จรูปในถุงหลากหลายขนาดให้เลือกตามต้องการ

  1. ยูซุ (Yuzu)
    ยูซุ คือส้มสายพันธุ์หนึ่งของญี่ปุ่นที่มีลักษณะเฉพาะคือมีหน้าตาคล้ายเลมอน ผิวหนา เนื้อน้อย ทำให้ส่วนใหญ่แล้วคนไม่นิยมนำส้มยูซุมาบริโภคโดยตรงเหมือนส้มชนิดอื่นๆ แต่จะนำส่วนต่างๆ เช่นผิวส้มที่มีความหนาเป็นพิเศษ (ซึ่งทำให้มีน้ำมันผิวส้มอยู่เยอะ และมีกลิ่นหอมสดชื่น) มาใช้ในการแต่งกลิ่นอาหาร ไปจนถึงผสมในเครื่องดื่มและขนม ที่พบบ่อยที่สุดคือการนำผิวส้มบวกกับเนื้อส้มมาทำซอสยูซุหรือน้ำสลัดยูซุ ซึ่งมีรสชาติเปรี้ยวอมหวานและมีกลิ่นหอมที่เป็นเอกลักษณ์ หรือนำไปตากแห้งเพื่อทำเป็นชายูซุก็มี

นอกจากนี้ในช่วงฤดูหนาว คนญี่ปุ่นในบางพื้นที่ยังนิยมนำใส่ส้มยูซุลงไปบ่อน้ำร้อนก่อนที่จะลงไปแช่ ซึ่งทำให้ได้ทั้งความหอม และสรรพคุณในด้านการช่วยให้ระบบไหลเวียนของเลือดดีขึ้น ลดความเครียด และช่วยบำรุงผิวพรรณเป็นอย่างดี คนญี่ปุ่นชอบการท่องเที่ยวและการกินมาก

รู้จักกับอาหารเส้นหลากชนิดของญี่ปุ่น

โซบะ อุด้ง ราเม็ง ชิโอะราเม็ง มิโสะราเม็ง โชยุราเม็ง ทงคตสึราเม็ง ชิราทากิ มาเสะโซบะ อาบุระโซบะ รวมประวัติอาหารเส้นของญี่ปุ่นหลากชนิดที่คุณไม่เคยเห็นมาก่อน แล้วคุณจะรู้ว่าทำไมเด็กเส้นต้องไปญี่ปุ่น

  1. โซบะ (Soba/そば)
    เส้นโซบะ มีส่วนผสมหลักจากเมล็ดโซบะที่ได้จากต้นโซบะ เป็นพืชที่มีต้นกำเนิดจากประเทศจีนแถบมณฑลยูนนานไปจนรอบๆเทือกเขาหิมาลัย เชื่อว่าเข้ามาในญี่ปุ่นช่วง”ยุคโจมง”ของญี่ปุ่น และเป็นพืชชนิดเดียวกับที่ในยุโรปเรียกว่า ต้นบักวีต แต่การนำโซบะมาทำเส้นนี้ ถือกันว่ากำเนิดที่ประเทศญี่ปุ่นโดยแท้จริง ต่างจากเส้นราเมง เส้นอุด้ง ที่พบเห็นของคล้ายกันได้ในหลายประเทศในทวีปเอเชียค่ะ

jumbo jili

ลักษณะของเส้นโซบะ
มีขนาดเล็ก แบนประมาณก๋วยเตี๋ยวเส้นเล็กของไทย มีสีน้ำตาลซึ่งได้มาจากเมล็ดโซบะ หลายคนคิดว่า เส้นโซบะทั้งหมดทำมาจากแป้งโซบะ 100% แต่แท้จริงแล้วไม่ใช่ค่ะ หลายชนิดในเส้นโซบะจะผสมแป้งสาลี 10%~50% เพื่อช่วยให้แป้งจับตัวกันค่ะ ส่วนผสมของแป้งสาลีจะเป็นตัวกำหนดชนิดของเส้น ซึ่งมีชื่อเรียกต่างกันออกไป เส้นโซบะที่ใช้แป้งโซบะล้วนๆ 100% เรียกว่า Juwarisoba (十割そば) ต้องใช้เทคนิคขั้นสูงในการทำ ราคาแพงกว่า เส้นหอมกลิ่นโซบะชัดเจนค่ะ
เป็นชื่อเรียกรวมๆ ของโซบะที่ทานร้อนค่ะ เสิร์ฟในชามพร้อมน้ำซุปร้อนๆ ใส่เครื่องหรือไม่ใส่ก็ได้ เช่นผัก เนื้อสัตว์ ใส่เทมปุระก็ได้ ซุปมีรสเค็มนำหวานตาม เป็นความหวานที่ได้จากน้ำสต๊อกญี่ปุ่นหรือผักที่ใช้ต้มซุปค่ะ เนื้อสัตว์ที่ใช้มีทั้งเป็ด ไก่ หมู และเนื้อวัว หรือจะเอาเนื้อมาทำเป็นเทมปุระก็ได้
จังหวัดที่มีชื่อเสียงมากเรื่องโซบะ คือ จังหวัดนางาโนะ ค่ะ เพราะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขา มีสภาพอากาศที่เหมาะสมกับการเพาะปลูกต้นโซบะ มีทุ่งโซบะที่เปิดรับนักท่องเที่ยว พร้อมร้านโซบะมากมายให้เลือกรับประทาน และบางร้านยังมีคอร์สสอนให้ลองทำเส้นโซบะเองด้วยนะคะ หากได้ไปรับประทานโซบะที่ร้านขอแนะนำเมนูเทมปุระกับข้าวหน้าหมูด้วยค่ะ เพราะทางร้านจะใช้แป้งโซบะทำ ซึ่งอร่อยเป็นเอกลักษณ์ของร้านโซบะค่ะ

  1. อุด้ง (udon/うどん)
    อุด้ง มีต้นกำเนิดจากประเทศจีน เข้ามาญี่ปุ่นช่วงยุคเฮอัง (ค.ศ. 794 – ค.ศ. 1185) และเริ่มเป็นที่แพร่หลายทั่วญี่ปุ่นในยุคเอโดะ (ค.ศ.1603 – ค.ศ.1868) ค่ะ

สล็อต

ลักษณะเส้นอุด้ง
ทำมาจากแป้งสาลี มีสีขาว หนา ค่อนข้างเป็นเหลี่ยมและยาว คุณสมบัติเฉพาะคือตัวเส้นจะเหนียวนุ่มและหนึบมาก เส้นอุด้งที่ดีและอร่อยต้องเหนียบหนึบค่ะ การที่จะทำให้เส้นอุด้งเป็นอย่างนี้ได้อยู่ที่การนวดแป้งนั่นเอง ที่เป็นงานที่ใช้แรงมาก ในอดีตมีการใช้เท้าเหยียบเพื่อนวดอุด้งด้วยนะคะ
“อุด้ง” รับประทานได้ทั้งร้อนและเย็น แบ่งได้ 3 ประเภทค่ะ
(1) ซารุอุด้ง วิธีรับประทานคล้ายโซบะเย็น ต่างกันที่อุด้งกินกับขิง จะไม่กินกับวาซาบิค่ะ
(2) บุคคาเคะอุด้ง อุด้งเย็นที่มีกับวางบนเส้นแล้วราดซุปลงไปพอขลุกขลิก แต่ชนิดของกับข้าวจะน้อยกว่าโซบะค่ะ
(3) คาเคะอุด้ง อุด้งร้อน ปัจจุบันมีการดัดแปลงชนิดของน้ำซุปที่หลากหลายมากกว่าโซบะ นอกจากน้ำซุปใสที่หลายคนรู้จัก ก็มีซุปแกงกะหรี่ที่นิยมมากค่ะ

ทั้งนี้ที่จริงแล้วชื่อเรียกของอุด้งยังแยกประเภทย่อยมากกว่านี้แตกต่างกันขึ้นอยู่กับอาหารที่วางบนเส้นอุด้งและลักษณะเส้นค่ะ
จังหวัดคางาวะถือเป็นจังหวัดอุด้งที่มีชื่อเสียงที่สุดในญี่ปุ่น เพราะเป็นต้นตำรับของการทำอุด้ง อุด้งที่นี่เรียกว่า “ซานุกิอุด้ง” เส้นเหนียวนุ่ม นวดด้วยเท้า แต่เพื่อด้วยสุขอนามัย ปัจจุบันใช้การนวดด้วยมือแทนค่ะ
อันดับที่ 2 คือ อุด้งของจังหวัดอากิตะ เรียกว่า “อินานิวะอุด้ง” มีเส้นยืดหยุ่น ใช้วิธียืดแป้งให้เป็นเส้นแทนการตัดค่ะ นิยมทำอุด้งเย็นแกงกะหรี่หรือ “คาเรอุด้ง” เป็นต้น
นอกจากนี้ยังมีอันดับ 3 ซึ่งมีอยู่ 3 จังหวัด คือ จังหวัดโทะยะมะ “ฮิมิอุด้ง”
และจังหวัดอื่นๆ เช่นกุนมะก็มี “มิซูซาวะอุด้ง” และ จังหวัดนะงะซะกิ “โกโตอุด้ง” ค่ะ ทั้งนี้ชนิดของอุด้งทั้งหมด ทั่วประเทศญี่ปุ่นมีมากกว่า 30 ชนิด

สล็อตออนไลน์

  1. ราเม็ง (ramen/ラーメン)
    ราเม็งมีต้นกำเนิดในประเทศจีน เข้ามาญี่ปุ่นโดยชาวจีนอพยพในช่วงยุคสมัยเอโดะ และเริ่มเป็นที่รู้จักในยุคสมัยเมจิเมื่อมีชาวต่างชาติเดินทางเข้ามาอาศัยอยู่ญี่ปุ่นมากขึ้น มีร้านอาหารจีนเริ่มเปิดมากขึ้น เช่นที่ไชน่าทาวน์เมืองโยโกฮาม่า หรือไชน่าทาวน์นางาซากิ ซึ่งเป็นเมืองท่าสำคัญของประเทศญี่ปุ่นค่ะ
    ราเม็งญี่ปุ่น เส้นทำจากแป้งสาลี มีสีเหลืองคล้ายเส้นบะหมี่ของไทย แต่รสชาติต่างกันเพราะไม่ใส่ไข่ไก่หรือใส่ไข่ไก่ในปริมาณน้อยกว่าค่ะ มีส่วนผสมของน้ำด่าง หรือ ก๋านโส่ (かんすい) ซึ่งเป็นตัวแปรสำคัญให้แป้งออกมาเป็นราเม็งค่ะ ลักษณะเส้นมีทั้งเส้นตรงและหยัก ซึ่งรอยหยักเกิดจากการขยุ้มเส้นก่อนนำไปต้มค่ะ
    เอกลักษณ์ของราเม็งญี่ปุ่นอยู่ที่น้ำซุป ซึ่งแบ่งได้ 4 ประเภท ดังนี้
    3.1 โชยุราเม็ง (shoyu ramen/しょうゆラーメン)
    โชยุราเม็งมีมาตั้งแต่ยุคสมัยเมจิ ตัวซุปทำจากโชยุผสมกับน้ำซุปใสที่เคี่ยวจากไก่ ซุปญี่ปุ่นจากคัตสึโอะบุชิ สาหร่ายคอมบุ และผักสดอย่าง กระเทียม ต้มหอมญี่ปุ่น หัวหอมใหญ่และแครอท น้ำซุปที่ได้จึงมีสีเข้มรสชาติกลมกล่อมและหอมโชยุ มีท็อปปิ้งที่เรียบง่าย ด้วย (1)หมูชาชู (2)หน่อไม้เมมมะ และ (3)ต้นหอมญี่ปุ่นซอย ค่ะ

ร้านราเม็งหลายร้าน มีป้ายหน้าร้านว่า ”ซูกะโซบะ” (แปลว่า โซบะสไตล์จีน) ซึ่งก็คืออีกชื่อหนึ่งของโชยุราเม็งค่ะ ส่วนชนิดของโชยุราเม็งมีมากมายแบ่งตามวัตถุดิบที่ใช้ปรุงซุปและท็อปปิ้ง ส่วนใหญ่มีชื่อเรียกตามชื่อจังหวัดหรือชื่อเมืองค่ะ ร้านโซยุราเม็งแห่งแรกของญี่ปุ่นเชื่อว่าอยู่ที่ย่านอาซาคุสะ กรุงโตเกียว แต่โชยุราเม็งที่มีชื่อเสียงสุดอยู่ที่จังหวัดฮอกไกโดคือ “อาซาฮิกาวะราเม็ง” (旭川ラーメン) ของเมืองอาซาฮิกาวะ

jumboslot

3.2 มิโสะราเม็ง (miso ramen/味噌ラーメン)
มิโสะราเม็งตัวเส้นจะหนาใหญ่ ตัวซุปเข้มข้น ใช้มิโสะนำไปผัดจนมีกลิ่นหอมแล้วผสมกับน้ำซุปที่เคี่ยวจากกระดูกหมูหรือไก่ซะส่วนใหญ่ ท็อปปิ้งด้วย หมูชาชู ต้นหอมซอย หรือแปลกหน่อยก็เนยและข้าวโพด ปัจจุบันมีท็อปปิ้งมากกว่านั่นด้วยผักหลากชนิดที่นำไปผัดกับน้ำมันจนสุก เช่น ถั่วงอก ผักกะหล่ำปลี แครอท มิโสะราเม็งที่มีชื่อเสียงก็เช่นที่เมืองซัปโปโร จังหวัดฮอกไกโด เรียกว่า “ซัปโปโรราเม็ง” (札幌ラーメン) ค่ะ

“มิโสะราเม็ง” เป็นอาหารญี่ปุ่นที่นักท่องเที่ยวต่างชาตินิยม ร้านอร่อยมีมากมาย เช่นร้านแฟรนไชส์ Misoya Ramen มีสาขาอยู่ทั่วประเทศญี่ปุ่นและอีกหลายประเทศ ทางร้านได้รวมมิโสะจากทั่วประเทศญี่ปุ่นและมีเมนูใหม่เปลี่ยนตลอดทุกเดือน ราคาประมาณ 900 เยน รสชาติต้นตำรับที่ใครได้มาชิมที่ญี่ปุ่น รับรองไม่ผิดหวังค่ะ
3.3 ชิโอะราเม็ง (shio ramen/塩ラーメン)
ชิโอะราเม็งใช้เส้นราเม็งขนาดเล็กบาง ตัวซุปโดดเด่นเพราะใสแจ๋วไม่เหมือนราเม็งอื่นๆ มักเคี่ยวจากโครงไก่หรือกระดูกหมูอย่างพิถีพิถันมีการกำหนดความร้อนเพื่อไม่ให้ตัวซุปขุ่น แล้วปรุงรสด้วยซอสรสเค็มจากอาหารทะเล ทำให้ราเม็งมีรสชาติเค็มอ่อนแต่แตะลิ้นอย่างล้ำลึก นิยมโรยหน้าด้วยพริกไทยป่นเพื่อให้มีรสชาติเข้มขึ้น ท็อปปิ้งหลักๆมี
(1) หมูชาชู (2) ลูกชิ้นปลานารูโตะ (3) ไข่ดองโชยุ (4) ต้นหอมญี่ปุ่นซอย (5) หน่อไม้เมมมะ (6) ปวยเล้ง
โดยสูตรต้นตำรับจะใส่ท็อปปิ้งเพียงเล็กน้อย เพื่อจะได้ลิ้มรสชาติแท้ๆของซุปใสค่ะ

slot

ว่ากันว่าเมืองฮาโกดาเตะ จังหวัดฮอกไกโด มีร้านชิโอะราเม็งที่เก่าแก่ตั้งแต่ยุคสมัยเมจิ ค.ศ.1884 มีต้นตำรับจากบะหมี่หนานจิงของประเทศจีน ทำให้ที่นี่ขึ้นชื่อที่สุด พิเศษทั้งน้ำซุปและท็อปปิ้งจากอาหารทะเลสดใหม่ ชิโอะราเม็งที่นี่เรียกว่า “ฮาโกดาเตะราเม็ง”ค่ะ

3.4 ทงคตสึราเม็ง (tonkotsu ramen/とんこつラーメン)
ทงคตสึราเม็งใช้เส้นกลมตรงขนาดเล็ก น้ำซุปเข้มข้นมีสีขาวขุ่น เคี่ยวจากกระดูหมูเป็นหลัก มีท็อปปิ้งที่เป็นพื้นฐาน 6 อย่าง คือ (1)หมูชาชู (2)ต้นหอมซอย (3)หน่อไม้เมมมะ (4)เห็ดหูหนู (5)สาหร่ายโนริ (6)กากหมู ซึ่งราเม็งชนิดนี้น่าจะถูกใจนักปรุงที่สุดค่ะ เพราะบนโต๊ะมักจะมีเครื่องปรุงให้ใส่เพิ่มรสชาติตามชอบหลายอย่างค่ะ ราเม็งประเภทอื่นอาจมีเพียงมิโสะรสเผ็ดหรือกระเทียมให้ปรุงเพิ่มเอง แต่ทงคตสึราเม็งมีมากกว่านั้นค่ะ มี (1)กระเทียมดองโชยุ (2)ขิงดองสีแดง (3)พริกผัดน้ำมัน และ (4)ผัดกาดดองรสเผ็ด ”คาราชิทาคานะ” ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของทงคตสึราเม็ง และที่พิเศษอีกอย่างคือ ร้านทงคตสึราเม็ง จะไม่มีชามใหญ่พิเศษที่ร้านอื่นเรียกว่า “โอโมริ” แต่มักจะมีบริการเติมเส้นฟรี 1 ก้อน เรียกว่า คาเอะดามะ (替え玉) เมื่อเรารับประทานเส้นในชามหมด สามารถสั่งคาเอะดาเมะได้ และมักจะฟรีเฉพาะก้อนแรกนะคะ ก้อนถัดไปต้องจ่ายเพิ่มค่ะ

จังหวัดฟุกุโอกะ ตั้งอยู่ทางใต้ของญี่ปุ่น ถือเป็นต้นตำรับทงคตสึราเม็ง ที่ขึ้นชื่อสุดอยู่เมืองฮากาตะในฟุกุโอกะ เรียกว่า “ฮากาตะราเม็ง” ค่ะ
คนญี่ปุ่นชอบการท่องเที่ยวและการกินมาก

10 ปลายอดนิยมในอาหารญี่ปุ่น 2

  1. ปลาซาบะ
    ปลาซาบะ (鯖) ปลาทะเลผิวน้ำ อยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ อพยพย้ายถิ่นไปตามฤดูกาลค่ะจึงมีการประมงในหลายภูมิภาคของญี่ปุ่น สูงสุดที่จังหวัดอิบารากิทางภาคกลาง รองมาจังหวัดนางาซากิทางภาคใต้ค่ะ แม้ในญี่ปุ่นจะมีการจับปลาซาบะ แต่ปลาซาบะ 90% นำเข้ามาประเทศนอร์เวย์ค่ะ เป็นปลาแล่แล้วแช่แข็ง อย่างที่เห็นตามซุปเปอร์มาร์เก็ตส่วนใหญ่ค่ะ ส่วนปลาสดของญี่ปุ่นทำอาหารได้หลากหลายกว่าเช่น ปลาต้มมิโสะ(มิโสะนิ/味噌煮) และ ซาซิมิ(ชิเมะซาบะ/しめ鯖) ค่ะ
    ปลาซาบะแช่แข็งหรือปลาตากแห้ง จะมีรสเค็มอยู่แล้ว นำไปย่างได้อร่อยโดยไม่ต้องปรุงรสใดๆค่ะ หากเป็นปลาสดย่าง นำมาแช่โชยุก่อนแล้วย่าง คือ สึเคะยากิ (つけ焼き) หรือ โรยเกลือก่อนย่าง คือ ชิโอะยากิ (塩焼き) ค่ะ
    ปลาซาบะหวาน (ซาบะมิริน/鯖みりん) เป็นปลาที่แช่มิรินปรุงรสแล้วนำไปตากแห้ง รสชาติอร่อยเหมือนปลาหวานของไทยค่ะ แต่ทำให้สุกโดยนำไปย่างไม่ใช่ทอดเหมือนปลาหวานไทยค่ะ
    ปลาซาบะต้มมิโสะ (ซาบะโนะมิโสะนิ/さばの味噌煮) ปลาซาบะมีกลิ่นคาวมาก วิธีทำให้อร่อยนั้นค่อนข้างหลายขั้นตอนค่ะ รสชาติที่ได้จะกลมกล่อมไม่โดดรสมิโสะ และเนื้อปลามีความมันอร่อยค่ะ

jumbo jili

ซาซิมิ และ ซูชิปลาซาบะ ทำได้ยากจึงไม่นิยมมากนัก (แต่ทำได้)
ปลาซาบะ เมื่อนำมาทำซาชิมิหรือซูชิ ต้องนำเนื้อปลาไปหมักเกลือและแช่น้ำส้มสายชูก่อน วิธีนี้เรียกว่า สึชิเมะ (酢〆) ค่ะ
ในปลาทะเลสดอาจมีพยาธิอะนิซาคิสที่พบได้ในทะเลในเขตร้อน เป็นพยาธิที่มองเห็นด้วยตาเปล่า ต้องเป็นปลาที่สดสะอาดจริงถึงทำซาชิมิได้ค่ะ แต่การนำไปทำสึชิเมะไม่ได้ฆ่าพยาธินะคะ เพียงแค่ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย และช่วยในการเปลี่ยนโมเลกุลของโปรตีนในปลา ทำให้ทานได้โดยไม่ต้องผ่านความร้อนค่ะ

ปลาซาบะกระป๋อง (ซาบะคาน/鯖缶) รสที่นิยมมี 2 รส คือซาบะในน้ำเกลือ (มิซึนิ) และ ซาบะในมิโสะ (มิโสะนิ) ค่ะ ปลาซาบะกระป๋องได้รับความนิยมมาก เพราะมีวิตามินและแร่ธาตุมากกว่า กินง่าย และนำมาดัดแปลงเป็นอาหารได้หลายเมนู รูปแบบแพ็กเกจก็ทันสมัย ดูมีความอินเตอร์ค่ะ นอกจาก 2 รสที่กล่าวมา ก็มีรสอื่นๆเช่นแกงกะหรี่ด้วยนะคะ หาซื้อยากแต่อร่อยมากค่ะ

สล็อต

  1. ปลาซันมะ
    ปลาซันมะ (秋刀魚) มีลักษณะลำตัวยาวคล้ายดาบ ขนาดใหญ่สุดถึง 40 เซนติเมตร หนังสีเงินเป็นเงา อร่อยสุดในฤดูใบไม้ร่วงช่วงเดือน 10 เพราะปลาจะเก็บไขมันไว้สำหรับหน้าหนาว เนื้อปลาจึงหวานมันค่ะ ทั่วประเทศญี่ปุ่นมีการจับซันมะในหลายจังหวัด มากสุดทางภาคเหนือที่จังหวัดฮอกไกโด จังหวัดมิยากิ และ จังหวัดอิวาเตะ ตามลำดับค่ะ สามารถกินดิบได้ แต่อร่อยสุดคือย่างเกลือค่ะ นอกจากนี้ก็ ทอดกรอบ(ทะสึตะอาเกะ/竜田揚げ) เคี่ยวสามรส(คันโรนิ/甘露煮) ย่างผงกะหรี่(คาเระ ยากิ/カレー焼き) หรือทำเป็นสลัดคาร์ปาชิโอ(อาหารอิตาเลี่ยน) ค่ะ

ปลาซันมะก็กินแบบปลาดิบได้
ปลาซันมะดิบ (ซาชิมิ/刺身) นำมาทำซูชิ(寿司) และ สลัดคาร์ปาชิโอ(อาหารอิตาเลี่ยน) ได้ค่ะ
ปลาซันมะย่างเกลือ (ชิโอะยากิ/塩焼き) เป็นอาหารที่นิยมทำกินมากที่สุด และที่เขตเมกุโร่ในโตเกียวก็มีเทศกาลซันมะจัดขึ้นทุกปีในช่วงเดือน 10 ที่ปลาซันมะมีเนื้ออร่อยสุดค่ะ ปลาที่ย่างจะแจกจ่ายให้ประชาชนที่มาร่วมงานฟรีๆเลยค่ะคนละตัว

สล็อตออนไลน์

  1. ปลาอาจิ
    ปลาอาจิ (味) ขนาดตัวจะเล็กประมาณปลาทู ลำตัวมีสันแข็ง ส่วนรสชาติก็คล้ายปลาทูค่ะ ถึงตัวจะเล็กแต่รับประทานได้ทั้งสุกและดิบเลยนะคะ
    ปลาอาจิสด มีเนื้อหวานอร่อยมาก นำมาซาชิมิและซูชิได้ค่ะ โดยการแล่ ลอกหนัง และเอาก้างออกให้หมด วิธีแล่นี้ภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า “ซันมัย โอโรชิ” หนึ่งตัวได้เนื้อเพียงนิดเดียว ราคาจึงไม่ต่างจากซาซิมิปลาใหญ่อื่นๆค่ะ
    ปลาอาจิที่แล่แบบ “ซันมัย โอโรชิ” แล้ว สามารถทำอาหารได้หลาย เช่น
  • ชุบเกล็ดขนมปังทอด กินคู่กับซอสญี่ปุ่น หรือ ซอสทาร์ทาร์ คือ อาจิ ฟุรายอิ (アジフライ)
  • ชุบแป้งมันแล้วทอดให้สุกกรอบ คือ อาจิ โนะ ทาสึทาอาเกะ (鯵の竜田揚げ)
  • สับเนื้อให้ละเอียดปรุงรสปั้นเหมือนลูกชิ้นแล้วต้มเป็นซุป คือ อาจิ โนะ สึมิเระชิรุ (鯵のつみれ汁)
  • เนื้อปลาสด สับชิ้นเล็ก แล้วนำมายำสมุนไพรแบบญี่ปุ่น คือ อาจิ โนะ นาเมะโร่ (鯵のなめろう) หรือ อาจิ โนะ ทาทาคิ (鯵のたたき)
    ปลาอาจิทั้งตัวก็นำมาทอดหรือย่างได้เช่นกันนะคะ เช่น
    ปลาอาจิสดตัวเล็ก ทอดให้กรอบทั้งตัว แล้วนำมายำสามรสแบบญี่ปุ่น คือ อาจิ โนะ นัมบังสุเกะ (鯵の南蛮漬け)
    ปลาตากแห้ง (ฮิโมโนะ/干物) มีรสเค็มอ่อนๆ นำมาย่าง กินกับหัวไชเท้าขูดค่ะ

jumboslot

  1. ปลาอิวาชิ
    ปลาอิวาชิ (鰯) ตัวใหญ่ไม่ต่างจากอาจิค่ะ ลำตัวจะเรียวยาวแต่ไม่เท่าปลาซันมะค่ะ นำมาประกอบอาหารได้เหมือนปลาอาจิทุกอย่างเลยนะคะ ทั้งซาชิมิ ซูชิ ปลาตากแห้ง ย่าง ทอด ต้มซุป และยำแบบญี่ปุ่น จะต่างก็แค่ปลาอิวาชิมีปลากระป๋องส่วนปลาอาจิไม่นิยมทำปลากระป๋องค่ะ
  2. ปลาชิราสุ
    ปลาชิราสุ (しらす/白子) คำนี้จริงๆแล้วหมายถึงลูกปลาค่ะ ไม่ใช่ชื่อพันธุ์ปลาตัวเล็กนะคะ ที่คนญี่ปุ่นรับประทานส่วนใหญ่คือ ลูกปลาอิวาชิ ค่ะ สามารถกินดิบได้ค่ะ กินคู่กับขิงฝนเพื่อลดคาวค่ะ แต่ที่ขายตามซุปเปอร์มาร์เก็ตส่วนใหญ่จะต้มแล้วกินกับข้าวสวยร้อนๆได้เลยค่ะ หรือนำไปประกอบอาหารอย่างอื่นเช่น โคร็อกเกะ ข้าวปั้น และสลัดได้ค่ะ ส่วนปลาตากแห้งที่ผสมกับผักและงา เอาไว้โรยข้าวหรือทำข้าวปั้นค่ะ

ปลาชิราสุต้ม ถือเป็นปลาชนิดแรกที่คนญี่ปุ่นหลายคนได้กิน เพราะเป็นเมนูอาหารเด็กอ่อนของญี่ปุ่นค่ะ โดยน้ำปลาชิราสึต้มมาราดน้ำร้อนเพื่อล้างความเค็ม แล้วนำไปบดผสมข้าวตุ๋นก็กินได้เลยค่ะ วิธีเลือกซื้อปลาชิราสุต้มนะคะ ดูที่มีลูกกุ้งลูกปลาหมึกผสมอยู่จะสดใหม่กว่า เพราะแสดงว่าไม่ได้เสียเวลาผ่านกระบวนการคัดแยก ขึ้นจากทะเลก็ต้มส่งมาขายเลยค่ะ

slot

ข้าวหน้าปลาชิราสุเป็นอาหารที่มีเชื่อเสียงริมทะเลเขตคามากุระและบริเวณใกล้เคียงของจังหวัดคานากาว่า ทะเลแถบนั้นเรียกว่า ทะเลโชนัน ค่ะ ซึ่งปลาชิราสุดิบไม่ได้จับได้ทุกวัน ใครที่มาเที่ยวแล้วได้รับประทานถือว่าโชคดีค่ะ

  1. ปลาชิชาโมะ (ปลาไข่ญี่ปุ่น)
    ปลาชิชาโมะ (ししゃも/柳葉魚) หรือปลาไข่ ที่เราเห็นตามซุปเปอร์มาร์เก็ตทั่วไป ส่วนใหญ่เป็นปลาแช่แข็งและตากแห้ง ไม่ใช้ชิชาโมะแท้นะคะ เป็นปลา capelin ค่ะ นำเข้าจากประเทศนอร์เวย์ ประเทศแคนาดา และประเทศไอซ์แลนด์ค่ะ ปลาไข่ญี่ปุ่นหรือชิชาโมะแท้ ภาษาอังกฤษ คือ japanese longfin smelt มีเฉพาะทะเลญี่ปุ่นฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกทางเกาะฮอกไกโดค่ะ ชื่อปลามีที่มาจากภาษาของชาวไอนุ ชนเผ่าพื้นเมืองของฮอกไกโด ว่า Shushu hamo (シュシュハモ) ค่ะ
    คนญี่ปุ่นชอบการท่องเที่ยวและการกินมาก

กินอาหารญี่ปุ่นตามฤดูกาล ภาคฤดูหนาว

อาหารประจำฤดูกาลทั้ง 4 ของชาวญี่ปุ่น คือวัฒนธรรมการกินอย่างหนึ่งที่มีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว เนื่องจากสภาพอากาศและบรรยากาศที่แตกต่างกันชัดเจนในแต่ละฤดู เมนูอาหารจึงมีความแตกต่างกันไปด้วย

ฤดูหนาวของญี่ปุ่นและอาหารประจำฤดูหนาว
การมีอาหารที่แตกต่างกันอย่างมากในสี่ฤดูเรียกได้ว่าเป็นเอกลักษณ์เฉพาะอีกอย่างของชาวญี่ปุ่น ซึ่งในสี่ฤดูกาลที่แตกต่างชาวญี่ปุ่นก็จะทำอะไรที่แตกต่างกันพอสมควร อย่างกิจกรรมเฉพาะของฤดูทั้งสี่ก็แตกต่างกันไป เช่นมีงานเทศกาลดอกไม้ไฟในฤดูร้อน เทศกาลหิมะในฤดูหนาว และแน่นอนว่าเรื่องของอาหารก็ด้วย เช่นคากิโกริ (Kakigori) หรือน้ำแข็งใส จะได้รับความนิยมในฤดูร้อน และ ขนมซากุระโมจิ (Sakura Mochi) ขนมหวานที่ได้รับความนิยม ซึ่งเอาเข้าจริงแล้วจะทำขายฤดูอื่นก็ได้ (เพราะหลายเจ้าก็ไม่ได้ใช้ดอกซากุระจริงๆเป็นส่วนผสม) แต่ส่วนใหญ่ก็จะพร้อมใจกันวางขายเฉพาะในฤดูใบไม้ผลิ เหล่านี้เป็นต้น

jumbo jili

ฤดูหนาวของญี่ปุ่นจะอยู่ระหว่างเดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์ เป็นช่วงเวลาที่อากาศหนาวเย็นมากที่สุด เรื่องของอาหารการกินก็จะมีเมนูที่นิยมรับประทานเฉพาะในช่วงฤดูนี้เพื่อเป็นการคลายความหนาวและทำให้ร่างกายอบอุ่นขึ้น และหากจะพูดถึงอาหารประจำฤดูหนาวของญี่ปุ่น ที่นิยมกันมากก็คือนาเบะ (Nabe) หรือหม้อไฟ ซึ่งแต่ละภูมิภาคจนถึงระดับท้องถิ่น ก็จะมีเมนูนาเบะแบบพิเศษที่หารับประทานได้เฉพาะพื้นที่นั้นๆด้วย เช่นอิชิคารินาเบะของเกาะฮอกไกโด ที่มีความพิเศษคือการใส่นมและเนยลงไปในหม้อนาเบะด้วย

นอกจากนี้ ในส่วนของวัตถุดิบที่นำไปประกอบอาหารในช่วงฤดูหนาวก็จะมีของที่ผลิตได้มากในฤดู เช่นปลาบุริ (Buri) ปลาอังโคะ (Ankou) หอยนางรม (Kaki) ผักประเภทหัวไชเท้า ผักกาดขาว ด้านผลไม้ก็จะเป็น แอปเปิ้ล ส้ม สตรอเบอรรี่
สำหรับเมนูอาหารยอดนิยมในฤดูหนาวของชาวญี่ปุ่น 5 ชนิด ที่เปรียบเสมือนรสชาติแห่งฤดูหนาวที่อยากจะแนะนำในก็มีดังต่อไปนี้

สล็อต

  1. นาเบะ (Nabe)
    นาเบะ หรือแปลง่ายๆคือ หม้อไฟแบบญี่ปุ่น เป็นเมนูอาหารประจำฤดูหนาวที่รับประทานกันอย่างแพร่หลาย เนื่องจากความร้อนของน้ำซุปในหม้อไฟนอกจากมีรสชาติอร่อยแล้ว ยังช่วยสร้างความอบอุ่นให้กับร่างกายได้ด้วย และไม่มีสูตรตายตัว

โดยทั่วไปแล้วในหม้อนาเบะจะประกอบด้วย ผักกาดขาว หัวไชเท้า แครอท ต้นหอม เต้าหู้ เห็ด เนื้อสัตว์ต่างๆ ซึ่งความน่าสนใจของเมนูนาเบะนี้คือ นาเบะจะมีสูตรท้องถิ่นของพื้นที่นั้นๆ ที่แตกต่างกันออกไปอย่างมากมายแล้วแต่พื้นที่ ของแปลกๆที่น่าสนใจก็อย่างเช่น นาเบะปลาอังโคะ (หรือปลาตกเบ็ด) ที่ใช้ปลาตกเบ็ดที่จับได้มากในอิบารากิเป็นวัตถุดิบหลัก และแน่นอนว่าเป็นนาเบะชื่อดังของจังหวัดอิบารากิ หรือฮากาตะโมทสึนาเบะ เมนูท้องถิ่นของจังหวัดฟุกุโอกะ ที่มีวัตถุดิบหลักเป็นเครื่องในวัวและไม่ค่อยใส่เนื้อส่วนอื่น เป็นต้น

สล็อตออนไลน์

  1. โอเด้ง (Oden)
    โอเด้ง เป็นอาหารญี่ปุ่นที่หลายๆ คน น่าจะเคยได้ยินและเคยรับประทานกันมาแล้ว โอเด้งได้รับความนิยมและเหมาะกับการรับประทานในฤดูหนาวมากเช่นกัน เพราะหารับประทานง่าย ตามร้านสะดวกซื้อก็มีขาย แถมราคาไม่แพง เมื่อถึงฤดูหนาวก็รับประทานเพื่อคลายหนาวได้เป็นอย่างดี ในโอเด้งจะประกอบด้วยน้ำซุปจากโชยุและวัตถุดิบหลากหลายชนิด เช่นไข่ต้ม หัวไชเท้า ชิกุวะ ส่วนผสมที่ทำจากบุก ทั้งแบบเป็นชิ้นและเป็นเส้น เต้าหู้ทอด ลูกชิ้นทำจากเนื้อสัตว์เสียบไม้

ในแง่ของความสะดวก โอเด้งถือว่าหาซื้อไม่ยาก นอกจากจะมีขายตามร้านสะดวกซื้อแล้ว หากไปเที่ยวงานเทศกาลฤดูหนาวที่จัดขึ้นก็มักจะพบเจอแผงลอยขายโอเด้งให้ได้เลือกชิมกันด้วย

  1. โมจิต้มถั่วแดง (Zenzai)
    เซ็นไซเป็นขนมหวานญี่ปุ่นที่ถือว่าเป็นรสชาติของฤดูหนาว และมีการรับประทานกันอย่างแพร่หลาย ลักษณะเป็นขนมหวานทำมาจากแป้งโมจิสดๆ (หรืออาจจะนำไปย่างก่อน) แล้วนำมาต้มกับซุปจากถั่วแดงและน้ำตาลทรายที่เคี่ยวมาอย่างเข้มข้น ได้ออกมาเป็นโมจิต้มถั่วแดงที่มีรสชาติเหนียวนุ่ม หวาน อร่อย เหมาะกับการรับประทานร้อนๆในช่วงที่อากาศหนาว อีกทั้งโมจิยังเป็นอาหารมงคลตามความเชื่อของชาวญี่ปุ่นด้วย ทำให้เมนูขนมหวานนี้ได้รับความนิยมรับประทานกันมากเป็นพิเศษในช่วงเทศกาลส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่

jumboslot

  1. อาหารชุดประจำเทศกาลปีใหม่ โอเซจิ (Osechi)
    ในฤดูหนาวที่ญี่ปุ่นคือช่วงที่ตรงกับเทศกาลสำคัญนั่นก็คือเทศกาลปีใหม่ และมีวัฒนธรรมประเพณีตามความเชื่อที่เกี่ยวข้องกับอาหารในเทศกาลนี้ ที่เรียกว่า อาหารชุดประจำเทศกาลปีใหม่ หรือโอเซจิ (Osechi) โดยแต่ละครอบครัวก็จะเตรียมอาหารเป็นสำรับไว้เพื่อรับประทานในวันที่ 1-3 มกราคม
    ในสำรับอาหารชุดโอเซชิ โดยทั่วไปแล้วจะประกอบด้วยเมนูอาหารที่เป็นมงคล มีประโยชน์ต่อสุขภาพร่างกาย ทั้งอาหารคาวและหวานเช่น

โซบะข้ามปี (Toshikoshi Soba) เส้นโซบะสื่อถึงอายุที่ยืนยาว
โอโซนิหรือซุปใส่โมจิ (Ozoni) ซุปที่กินกันในช่งปีใหม่มาแต่อดีต
ข้าวต้มสมุนไพร 7 ชนิด (Nanakusagayu) เพื่อความเป็นมงคล
คุริคินตน (Kurikinton) ของหวานทำจากเกาลัดกวน ที่ว่ากันว่ามีรูปร่างคล้ายก้อนทอง เป็นต้น

slot

  1. นิคุมัง (Nikuman)
    นิคุมัง ก็คือซาลาเปาญี่ปุ่นนั่นเอง เป็นอาหารว่างที่เหมาะกับการรับประทานร้อนๆในฤดูหนาว ที่หารับประทานได้ทั่วไป ซึ่งเมนูนี้ก็ได้รับอิทธิพลมาจากอาหารจีน แต่สิ่งที่แตกต่างจากซาลาเปาทั่วไปของนิคุมังก็คือส่วนที่เป็นไส้ โดยนิคุมัง จะทำจากส่วนผสมของเนื้อหมูบด หัวหอมใหญ่ หรือเห็ดหอมกับหน่อไม้ และต่อมาในยุคหลังๆก็มีการพัฒนาไส้ที่หลากหลายมากขึ้น เช่นเนื้อวัว, รสบาร์บีคิว, รสพิซซ่า รวมไปถึงไส้ที่เป็นรสหวานอย่างช็อคโกแลตหรือถั่วแดง นิยมทานคู่กับชาร้อนๆ เทศกาลการกินอาหาร