ผลไม้ญี่ปุ่น 5 ชนิดที่ไปแล้วต้องกิน

ใครไปญี่ปุ่นแล้วชอบซื้อผลไม้มากินในโรงแรมพลาดไม่ได้ รวมห้าผลไม้ญี่ปุ่น พร้อมข้อมูลพันธ์ฮิต และฤดูที่เหมาะจะซื้อกินที่สุด ไปญี่ปุ่นเดือนไหนก็ลองเลือกกินดูนะ

เชื่อว่ามีผู้อ่านสายรักสุขภาพไม่น้อยที่สนใจรับประทานผลไม้ที่สดและอร่อยจากถิ่นกำเนิด ทั้งเลือกซื้อรับประทานเอง เลือกซื้อเป็นของฝากผู้อื่น หรือเลือกเป็นหนึ่งในกิจกรรมที่ต้องไปสัมผัสถึงฟาร์มปลูกผลไม้โดยตรง เราจึงอยากแนะนำผลไม้ขึ้นชื่อจากญี่ปุ่นทั้ง5ชนิดจากญี่ปุ่นที่ไปถึงถิ่นปลูกแล้วต้องรับประทานให้ได้ พันธุ์ชนิดไหนอร่อย ควรเลือกซื้อที่ไหนอย่างไร เรามีคำตอบให้คุณค่ะ

jumbo jili

เมล่อน (Melon)
เป็นผลไม้ที่อาจคุ้นตาคนไทยบ้าง โดยมักจะมีเปลือกนอกสีเขียวทรงกลม มีทั้งผลผิวเรียบและผิวขรุขระลายร่างแห ภายในมีสีสันที่แตกต่างกันไปตามสายพันธุ์ทั้งเนื้อสีขาว สีส้มเข้ม สีเหลือง และสีเขียวอ่อน มีรสชาติหอมหวาน โดยเฉพาะเมล่อนที่ญี่ปุ่นแล้วขึ้นชื่อเรื่องรสชาติฉ่ำหวานเป็นที่สุด

เมล่อนเป็นผลไม้ในช่วงฤดูร้อนของญี่ปุ่น (เดือนมิถุนายน-สิงหาคม) หากจะรับประทานให้ฉ่ำและอร่อยก็ต้องเลือกซื้อช่วงฤดูกาลนี้ แหล่งจัดจำหน่ายขนาดใหญ่ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดคือฮอกไกโด จังหวัดอิบารากิ และจังหวัดคุมาโมโตะ แบ่งราคาตามสายพันธุ์ ขนาด และเกรดคุณภาพผลไม้ จึงทำให้มีราคาตั้งแต่ลูกละหลักหลักพันถึงหลักหมื่นเยน ถือว่าเป็นผลไม้ราคาแพงสำหรับคนญี่ปุ่น โดยพันธุ์ที่ได้รับความนิยมคือพันธุ์ Yubari Melon และ Prince Melon ซึ่งมีราคาสูงมากถึงหลักหมื่นกว่าเยน

สล็อต

หากไปลองรับประทานทั้งทีอยากแนะนำให้เลือกเมล่อนยูบาริที่ฮอกไกโดในฤดูร้อน ด้วยสีสันที่น่ารับประทาน รวมถึงรสชาติที่และกลิ่นที่หอมหวาน ผลมีขนาดใหญ่ น้ำหวานภายในเนื้อเมล่อนเยอะคุ้มค่าแก่ราคาที่จ่ายไปในราคาขั้นต่ำหลักหลายพันเยน (แต่หากไปเที่ยวฟาร์มในฮอกไกโดก็สามารถซื้อที่หั่นแยกมาทานได้ โดยราคาต่อชิ้นจะหลักร้อยเยน) ถ้าหากจะซื้อกลับทั้งลูก เวลาเลือกซื้อควรเลือกผลเมล่อนที่สีผิวสม่ำเสมอกันทั้งลูก

ลูกพลับ (Persimmon)
ลูกพลับเป็นผลไม้ที่มีมายาวนานตั้งแต่ยุคสมัยเฮอัน ซึ่งคาดว่ารับพันธุ์มาจากประเทศจีนในสมัยนั้น มีผลสีส้มทรงกลม มีแก่นข้างบนผลสีเขียว มีรสชาติหวานละมุน มีวิตามินซีแถมช่วยแก้อาการเมาค้างได้ด้วย ซึ่งเป็นผลไม้ช่วงฤดูใบไม้ร่วง (เดือนกันยายน-พฤศจิกายนแต่เก็บเกี่ยวถึงเดือนธันวาคม) มีแหล่งผลิตขนาดใหญ่ที่จังหวัดวากะยามะ จังหวัดนารา และจังหวัดฟุกุโอกะ

สล็อตออนไลน์

พันธ์ที่นิยมปลูกคือพันธุ์จิโร่และพันธุ์ฟุยู ราคาของลูกพลับหวานโดยรวมไม่แพงราวๆ 100-200 เยนต่อผล บวกลบราคาตามคุณภาพและจำนวนของผลไม้ต่อแพ็ค โดยพันธุ์ที่ขึ้นชื่อเรื่องความหวานอร่อยและไม่ฟาดคือพันธุ์ฟุยู(富有柿) ซึ่งเป็นของขึ้นชื่อของจังหวัดนาราและจังหวัดกิฟุ แต่สามารถหาซื้อได้ตามซุปเปอร์ในเมืองเช่นกัน

เกาลัด (Chestnut)
เกาลัดเป็นผลไม้ชนิดเก่าแก่ที่ค้นพบตั้งแต่ยุคโบราณสมัยโจมงของญี่ปุ่นในราวๆ 5,000 ปีก่อน และเป็นผลไม้อีกชนิดที่ครองใจผู้ใหญ่หลายๆท่าน เนื่องจากเป็นผลไม้ที่มีรสชาติหวานน้อย มีลักษณะเป็นเปลือกผิวเรียบสีน้ำตาลเข้มปกคลุมด้วยขนแหลมรอบๆ เนื้อข้างในสีเหลือง มีรสชาติหวานมัน เป็น ผลไม้ช่วงฤดูใบไม้ร่วงของญี่ปุ่น (เดือนกันยายน-พฤศจิกายน) แหล่งผลิตขนาดใหญ่อยู่ที่จังหวัดอิราบากิและคุมาโมโตะ แนะนำให้ซื้อของจังหวัดอิราบากิ

jumboslot

พันธุ์ที่นิยมปลูกมากที่สุุดในญี่ปุ่นคือพันธุ์สึคุบะ (Tsukuba) ซึ่งเป็นพันธ์ที่นิยมปลูกในจังหวัดอิบารากิที่สุดด้วย มีเปลือกมันวาวสีน้ำตาลอมแดงมีน้ำหนักต่อผลมาก และพันธุ์ทันซาว่า (Tanzawa) อีกอันที่อยากแนะนำให้ไปลองเนื่องจากมีเนื้อที่หวานอร่อยและมีกลิ่นหอมมาก หากมาเลือกซื้อรับประทานควรมาในช่วงเดือนตุลาคม ซึ่งเป็นช่วงที่ผลเกาลัดสุกกำลังดีและรสชาติอร่อยที่สุด

สตรอว์เบอร์รี่ (Strawberry)​
เชื่อว่าคนไทยหลายๆท่านชอบรับประทาน​สตรอว์เบอร์รี่​ แต่อาจคุ้นชินกับรสชาติสตรอว์เบอร์รี่​ที่มีรสเปรี้ยวจี๊ดลูกเล็กมากกว่าเพราะหาซื้อง่ายในไทย แต่สำหรับสตรอว์เบอร์รี่​จากประเทศญี่ปุ่นนั้นจะมีหลายพันธ์ให้เลือก ส่วนใหญ่ที่ขายดีจะเป็นแบบสีแดงลูกโต รสชาติหวานฉ่ำอมเปรี้ยว เป็นผลไม้ประจำฤดูหนาวและฤดูใบไม้ผลิ (เดือนธันวาคม-พฤษภาคม​)​

หากต้องการจะเลือกซื้อรสชาติที่หวานอร่อยแนะนำให้ซื้อในช่วงฤดูใบไม้ผลิ มีแหล่งผลิต​ขนาดใหญ่​อยู่ในจังหวัดโทชิกิ จังหวัดฟุกุโอกะ และจังหวัดคุมาโมโตะ​ โดยมีสายพันธุ์อันดับหนึ่งของญี่ปุ่นที่แนะนำคือ สตรอว์เบอร์รี่​พันธุ์​อามะโอ(あまおう苺)​ มีผลใหญ่แบบในภาพ รสชาติหวานมาก มีตั้งแต่ราคาย่อมเยาว์ 2,500เยน ต่อแพ็ค15ผล กระทั่งหลักเฉียดราคาหมื่นเยน ตามคุณภาพเกรดผลไม้ น้ำหนัก และจำนวนผลต่อแพ็ค หาซื้อได้ไม่ยากตามซุปเปอร์ในเมือง หากไปถูกฤดู

slot

ฮิรามิเลม่อนหรือชิควาซ่า (Hirami lemon, Shikuwasa)
ชิควาซ่า (シークワーサー)​ ผลไม้ชนิดนี้คนไทยอาจไม่คุ้นหูนัก แถมมีชื่อคล้ายภาษาตะวันตกแต่จริงๆแล้วเป็นชื่อที่มีเอกลักษณ์แบบภาษาโอกินาว่า และมีชื่อกลางว่าฮิรามิเล่อน แต่ถึงแม้ชื่อจะไม่คุ้น รสชาตินั้นกินไม่ยากสำหรับคนไทย

ลักษณะผลภายนอกลูกเล็กสีเขียวเข้มเหมือนมะนาวแป้นของไทย แต่เมื่อผ่าข้างในจะพบว่าสีสันของเนื้อผลไม้จะเหมือนนำเลม่อนมาผสมกับส้ม มีรสชาติเปรี้ยวอมหวานเล็กน้อย เป็นผลไม้ที่เกิดขึ้นในเขตร้อนเท่านั้น จึงสามารถปลูกได้ดีในญี่ปุ่นแค่ที่จังหวัดโอกินาว่า จนกลายเป็นของฝากประจำจังหวัด ปลูกกันในช่วงกลางฤดูร้อนกระทั่งถึงช่วงกลางฤดูใบไม้ร่วง(เดือนกรกฏาคม-ตุลาคม)

วิธีรับประทานจะเหมือนกับเลม่อนหรือมะนาว โดยมักจะไปเป็นส่วนประกอบของอาหาร คั้นเป็นน้ำผลไม้สด นำไปจิ้มกับซาชิมิ หรือนำไปทำเป็นซอสชิควาซ่าก็ได้ ราคาหน้าสวนหากซื้อที่โอกินาว่าจะไม่แพงมากเพียง1,000 เยนต่อกิโลกรัม แต่ถ้าหากซื้อจากภูมิภาคอื่นราคาจะสูงขึ้นหลายเท่าตัว แนะนำว่าไม่ต้องหิ้วกลับไทย ให้ลองผลไม้ชนิดนี้แบบน้ำผลไม้คั้นสดจะเหมาะกว่า คนญี่ปุ่นชอบการท่องเที่ยวและการกินมาก

เครื่องปรุงอาหารญี่ปุ่นที่ควรมีติดบ้าน

ขอเสนอเครื่องปรุงญี่ปุ่นที่คนไทยควรมีติดบ้านค่ะ เอามาปรุงอะไร ซื้อแบบไหนดี เรามาทำความรู้จักกับเครื่องปรุงสิบชนิดที่จะช่วยยกระดับการทำอาหารญี่ปุ่นที่บ้านของคุณค่ะ

  1. โชยุ (しょうゆ/醤油)
    โชยุ (しょうゆ/醤油) หรือ ซีอิ๊วญี่ปุ่น มีต้นตำรับมาจากจีนเช่นเดียวกับซีอิ๊วของไทยค่ะ เชื่อว่าเข้ามาญี่ปุ่นในยุคนารา (ช่วง ค.ศ. 710 – 794) ใช้ถั่วเหลืองหมักในถังไม้ขนาดใหญ่ มีสี กลิ่น รสชาติ เป็นเอกลักษณ์ค่ะ
    ปัจจุบันโชยุไม่ได้มีเพียงรสชาติเดียวนะคะ หลักๆมีรสเข้มพื้นฐาน รสอ่อน รสเค็มน้อย (ลดปริมาณโซเดียมให้น้อยลง) เป็นต้น และยังมีโชยุที่มีส่วนผสมอื่นผสมนอกจากถั่วเหลืองด้วยค่ะ เช่นโชยุผสมดาชิ (ซุปสต๊อกญี่ปุ่น) ขวดเล็กกว่า ราคาแพงกว่า มีกลิ่นหอมน่ารับประทาน นิยมใช้เป็นเครื่องจิ้ม ไม่นำไปปรุงอาหารหรือผ่านความร้อนเพราะจะทำให้โชยุเสียกลิ่นและรสชาติค่ะ นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาโชยุขวดสูญญากาศ ที่ช่วยรักษาความสดหอมของโชยุในทุกครั้งที่เปิดรับประทานด้วยค่ะ

jumbo jili

โฟมโชยุ (อะวะ โชยุ/泡しょうゆ)
โฟมโชยุ (อะวะ โชยุ/泡しょうゆ) คือโชยุที่ผสมกับน้ำและผงเจลาติน นำมาตีจนเกิดฟอง รับประทานเป็นเครื่องจิ้มเช่นเดียวกับโชยุทั่วไป มีรสชาติและสัมผัสละมุนนุ่มลิ้น สามารถทำเองได้ที่บ้านแต่ค่อนข้างใช้เวลามากค่ะ
ส่วนผสมและวิธีทำง่ายๆนะคะ น้ำอุ่น 80℃ 1 ช้อนโต๊ะ ละลายผงเจลาติน 1 กรัม นำมาตีกับโชยุ 10 กรัมที่ผสมน้ำ 20 กรัม พอขึ้นฟองก็รองด้วยน้ำแข็งและตีต่อไปจนตั้งยอดค่ะ คล้ายกับการตีกาแฟฟอง Dalgona Coffee เมนูอยู่บ้านที่กำลังฮิตในโลกโซเชี่ยลขณะนี้เลยค่ะ

โชยุปรุงอาหารได้ทั้งคาวหวาน ทำขนมหรือของว่างเช่น ขนมมิทาราชิดังโงะหรือมันฉาบนิ่ม (ไดกาคุอิโมะ) / เป็นน้ำจิ้มคู่กับวาซาบิรับประทานกับปลาดิบ ซูชิ หรือผักลวกก็ได้ / ราดข้าวหน้าไข่ดิบ (tamago kake gohan) / ทำอาหารคาวประเภทต้มอย่าง ปลาต้ม หมูชาชู ไข่ดองโชยุ / เมูนูผัดเช่นผัดผักใส่เนย (เนยกับโชยุมีรสชาติที่เข้ากันได้ดีค่ะ) / หรือทำเมนูย่างเช่นไก่เทอริยากิ ปลาเทอริยากิ ไก่ย่าง (ยากิโทริ) เป็นต้น

สล็อต

  1. สาเกทำอาหาร หรือ เรียวริชู (ryouri shu;料理酒)
    เรียวริชู (ryouri shu;りょうりしゅ/料理酒) คือสาเกทำอาหาร แต่จริงๆแล้วสาเกสำหรับดื่ม กับ สาเกปรุงอาหาร ก็มีคุณสมบัติที่ใกล้เคียงกัน ใช้ปรุงอาหารได้เหมือนกัน แค่ราคาสาเกสำหรับดื่มนั้นแพงกว่าค่ะ ส่วนความแตกต่างกัน อยู่ที่ส่วนผสมค่ะ สาเกสำหรับดื่มคือแอลกอฮอล์ล้วน ส่วนสาเกปรุงอาหารมักจะมีเกลือ บางทีก็มีน้ำตาลผสม ไม่ใช่สาเกล้วน ไม่สามารถดื่มเปล่าๆได้ เรียกได้ว่าดื่มเล่นไม่อร่อยค่ะ
    ที่ญี่ปุ่น “เรียวริชู” นี้ร้านค้าสามารถขายได้โดยไม่จำเป็นต้องมีใบอนุญาตขายสุรา เพราะจัดเป็นเครื่องปรุงที่ไม่ต้องจ่ายภาษีสุราค่ะ

อาหารจากสาเกทำอาหาร เด็กกินได้
เรียวริชู มีกลิ่นหอมจากการหมักข้าวเป็นเอกลักษณ์ และมักมีรสเค็มจากเกลือ และขมเล็กน้อยด้วยปริมาณแอลกอฮอล์ 11.5~12.5 % เมื่อนำปรุงอาหารผ่านความร้อนในเวลาที่เหมาะสมแล้ว แอลกอฮอล์จะระเหยไปและไม่ขม จึงสามารถทำปรุงให้รับประทานได้ทุกวัยค่ะ

สล็อตออนไลน์

หลายคนคิดว่าเรียวริชูเป็นเพียงน้ำใสๆจะใส่ปรุงอาหารหรือไม่ ก็ไม่ต่างกัน นั่นไม่จริงค่ะ เรียวริชูเป็นเครื่องปรุงที่จำเป็นมากสำหรับอาหารญี่ปุ่น มีคุณสมบัติ 4 ประการ คือ
(1) ช่วยดับกลิ่นคาว เช่น เหยาะสาเกบนเนื้อปลาขณะย่างหรืออบปลา
(2) ทำให้เนื้อสัตว์นุ่ม เช่น หมักเนื้อไก่สำหรับทำคาระอะเกะ หมักเนื้อหมูหรือเนื้อวัวเพื่อทำชาบูชาบู
(3) ทำให้เครื่องปรุงซึมเข้าเนื้อได้เร็วยิ่งขึ้น เช่น อาหารที่ใช้เวลาต้มนานอย่าง ปลาสามรส”คันโรนิ”
(4) ดึงรสชาติของอาหารเหล่านั้นให้ถึงรส และมีรสชาติกลมกล่อม (มีอูมามิ) ซึ่งเป็นรสชาติพื้นฐานที่ทำให้อาหารอร่อยค่ะ เช่น น้ำซุปอุด้ง เมนูหม้อไฟต่างๆ เป็นต้น
เรียวริชู สามารถหาซื้อที่ไทยได้ตามซุปเปอร์มาร์เก็ตของญี่ปุ่น แต่ซุปเปอร์ไทยใหญ่ๆก็มีเช่นกัน

  1. มิริน (みりん/味醂)
    มิริน (みりん) หรือมิรินแท้ (ฮงมิริน/本みりん) เป็นเครื่องปรุงที่มีส่วนผสมแอลกอฮอล์มากกว่า 13.5 ดีกรี ที่ญี่ปุ่นร้านค้าทั่วไปไม่สามารถจำหน่ายได้หากไม่มีใบอนุญาตจำหน่ายสุราค่ะ
    จึงมีการผลิต ”มิรินปรุงแต่ง” ขึ้นมาแทน โดยมีปริมาณแอลกอฮอล์แค่1% เรียกว่า “มิรินฟูโชมิเรียว”「みりん風調味料」หรือเครื่องปรุงรสคล้ายมิริน ทำมาจากแอลกอฮอล์ผสมน้ำตาล รสชาติความอร่อยต่างกัน และราคาก็ถูกกว่ามิรินแท้เท่าตัวค่ะ
    ถ้ามีงบแน่นอนว่าแนะนำฮงมิรินค่ะ

jumboslot

ฮงมิริน มีรสหวานธรรมชาติที่ได้จากการหมักข้าว กลิ่นหอมคล้ายสาเก (เรียวริชู) ปริมาณแอลกอฮอล์สูง ก่อนรับประทานต้องทำให้แอลกอฮอล์จะระเหยหมดโดยผ่านความร้อนในเวลาที่เหมาะสม มีคุณสมบัติคล้ายกับสาเก ต่างกันแค่รสชาติหวานค่ะ
รสหวานของมิรินมีความกลมกล่อม จะไม่หวานแหลมโดดอย่างน้ำตาลทราย และช่วยตัดรสเค็มของอาหารที่ปรุงด้วยโชยุให้ละมุน และยังทำให้อาหารดูมันเงาน่ารับประทาน นิยมปรุงของว่างอย่าง มันฉาบ (ไดกาคุอิโมะ) โมจิห่อสาหร่าย(อิโซเบยากิ) หรือจะปรุงอาหารคาว เช่นคินปิระ เทอริยากิปลา เทอริยากิไก่ เป็นต้น
เท่าาที่หาดู มียี่ห้อ ทาคาระฮงมิรินจุนเรียวที่สามารถหาซื้อที่ไทยได้ตามซุปเปอร์มาร์เก็ตชั้นนำ
ขนาด 300 มล. ราคา 219 บาท

  1. มิโสะ (みそ/味噌)
    “มิโสะ” เป็นเครื่องปรุงที่มีกระบวนการหมักโดยใช้หัวเชื้อ “โคจิ” (koji/麹) ซึ่งทำหน้าที่คล้ายยีสต์ ทำการย่อยสลายโปรตีนในถั่วเหลืองให้เป็นกรดอะมิโนที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย นอกจากนี้ยังมีวิตามิน B1, B2, B6, B12, E, K, กรดโฟลิก,โซเดียม, โพแทสเซียม, แคลเซียม, แมกนีเซียม, ฟอสฟอรัส, เหล็ก, ทองแดง และ ไอโอดีน เป็นต้น
    มิโซะ มีกลิ่นหอมเป็นเอกลักษณ์ เนื้อสัมผัสนิ่ม รสชาติเค็ม มีทั้งเค็มมาก เค็มน้อย ขึ้นอยู่กับวัตถุดิบและระยะเวลาในการหมัก ทำให้มิโสะของญี่ปุ่นมีหลายชนิดหลายสี เช่น สีขาว สีแดง สีกลาง ค่ะ
    มิโสะที่ขายตามซุปเปอร์มาร์เก็ตส่วนใหญ่ หลายยี่ห้อผสมสารกันบูดและสารปรุงแต่ง หากเลือกไม่ถูกว่าจะซื้อสีไหนดี ให้ดูที่ส่วนผสมก่อนเลยค่ะ แนะนำชนิดปลอดสาร ถ้าอยู่ญี่ปุ่น ให้หาตัวอักษรภาษาญี่ปุ่นคำว่า mutenka (มุเทนคะ/無添加) มักจะราคาแพงกว่า ดีต่อร่างกายมากกว่าค่ะ

slot

มิโสะ นำไปประกอบอาหารได้หลายชนิด ไม่เพียงแต่ซุปมิโสะที่เรารู้จักค่ะ ใช้ปรุงหม้อไฟเช่นอุด้งเส้นใหญ่ต้มกับผัก (โฮวโตว) อาหารขึ้นชื่อของจังหวัดยามะนาชิที่คนไปชมฟูจิน่าจะเคยกิน / ส่วนผสมของว่างอย่างข้าวจี่ (โกเฮโมจิ) อาหารขึ้นชื่อของจังหวัดกิฟุ / ผสมกับน้ำส้มสายชูเป็นเครื่องจิ้มที่มีรสเปรี้ยวของซาชิมิบุกก้อน อาหารขึ้นชื่อของจังหวัดโทะชิงิ / ผสมพอนสึเป็นน้ำจิ้มชาบูชาบูก็ได้ / หมักเนื้อสัตว์ต่างๆทำเมนูปิ้งย่างก็ได้ / เป็นส่วนผสมของน้ำสลัดและผัดผัก / หรือทำน้ำซุปมิโสะราเมง เป็นต้น
มิโสะขาว ยี่ห้อ มารุโกเมะ สามารถหาซื้อที่ไทยได้ตามซุปเปอร์มาร์เก็ตชั้นนำ แพค 1 กิโลกรัม ราคา 129 บาท เป็นยี่ห้อพื้นฐานที่คนญี่ปุ่นก็ใช้ค่ะ

  1. คัตสึโอะบุชิ (かつおぶし/鰹節)
    “คัตสึโอะบุชิ” คือปลาโอแห้ง มีกระบวนการทำหลายขั้นตอนและใช้เวลานาน 4-6 เดือน เริ่มจากการคัดปลาคัตสึโอะ นำมาแล่เรียงใส่กระบะต้ม (ขั้นตอนนี้จะเป็นตัวกำหนดรูปร่าง) นำไปต้ม ผึ่งให้เย็นแล้วเลาะหนังปลาและเลาะกระดูกออก แล้วนำไปรมควัน แล้วตากแดดให้แห้ง นำมาขูดหนังให้เกลี้ยง แต่งรูปให้สวยงาม เสร็จแล้วนำมาหมักให้ขึ้นราทั่วชิ้น ขูดราออก ตากแดด นำไปหมักให้ขึ้นรา ขูดรา ตากแดด ทำวนไปจนได้ชิ้นปลาที่แห้งแข็ง เรียกว่า “คัตสึโอะบุชิ” หรือ ปลาโอแห้ง ค่ะ
    ปลาโอแห้งมีรสอูมามิ ทานเปล่าก็อร่อย นำมาปรุงอาหารได้มากมาย ชนิดเส้นใหญ่และชนิดบดละเอียดเหมาะทำซุปสต๊อกญี่ปุ่น (ดาชิ) สำหรับปรุงซุปมิโสะหรือทำเมนูหม้อไฟเป็นต้น / ชนิดผงเหมาะทำข้าวปั้น(โอนิกิริ) ยากิโซบะ หรือใส่ซุปก็ได้ค่ะ / ชนิดเส้นฝอย เหมาะโรยสลัด, ผักต้ม, ใส่ผัดมะระ, กินกับเต้าหู้เย็น หรือ ทำผงโรยข้าวเป็นต้น
    คนญี่ปุ่นชอบการท่องเที่ยวและการกินมาก