ปลาที่คนญี่ปุ่นนิยมบริโภคอย่างเช่น ทูน่า แซลมอน ซาบะ ซันมะ และส่วนของปลาที่ไม่คิดว่าจะมีใครกินก็สามารถนำมาปรุงอาหารได้ด้วย มาดูกันค่ะว่าคนญี่ปุ่นนิยมกินปลาอะไรกับอาหารอะไรกันบ้าง (ไม่ใช่แค่ปลาดิบเท่านั้นนะคะ)
- ปลามากุโร่ (ปลาทูน่า)
ปลามากุโร่ (マグロ/鮪) หรือทูน่า ในทะเลทั่วโลกก็มีอยู่หลายพันธุ์ พันธุ์ที่ญี่ปุ่นนิยมบริโภค คือ “คุโร่มากุโร่” หรือที่เรียกว่า “ฮอนมากุโร่” (本鮪) ค่ะ มีการอพยพย้ายถิ่นตามแต่ฤดูกาลโดยรอบเกาะฮอนชู ประเทศญี่ปุ่น อยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ ลักษณะตัวสีดำสนิท
โดยที่มาของชื่อ บางคนก็เล่ากันว่าเพราะปลาตัวสีดำสนิท สีดำสนิทภาษาญี่ปุ่นคือ มัคคุโร่ (真っ黒) ค่ะ คนญี่ปุ่นจึงเรียกชื่อปลาตามรูปลักษณ์ที่เห็น จนผันมาเป็น “มากุโร่” ที่เรารู้จักค่ะ
ตามตลาดค้าส่งปลาสด จะมีปลามากุโร่แช่แข็งขายเป็นตัวๆ ทุกตัวจะตัดหางเพื่อให้เห็นเนื้อด้านในสำหรับดูความสดค่ะ ปลาที่ตัวใหญ่สุดที่แช่แข็งเก็บไว้เพื่อการประมูลครั้งแรกของปี เรียกว่า hatsu seri ซึ่งในปี 2019 นะคะ มากุโร่ขนาดน้ำหนัก 278 กิโลกรัม ราคาประมูลได้คือ 333.6 ล้านเยน ผู้ที่ประมูลไป คือ ร้านซูชิซันมัย ร้านซูชิชื่อดังของญี่ปุ่นที่มีสาขามากมายค่ะ ที่ดังก็คงเป็นเพราะการที่ประมูลได้มาในหลายๆปีค่ะ และปลาที่ประมูลมาทางร้านก็นำมาแล่ทำซูชิขายด้วยนะคะ เรียกลูกค้าได้มากมายเลยค่ะ
มากุโร่ นิยมทำซาชิมิ(ปลาดิบ)และซูชิ(ข้าวปั้นปลาดิบ)มากที่สุด
คนญี่ปุ่นชอบกินปลามากุโร่มากด้วยรสชาติที่มันนุ่มลิ้น ความมันของปลาจึงเป็นตัวแบ่งระดับราคาและความอร่อยค่ะ เนื้อปลามากุโร่ที่กินสดเป็นปลาดิบได้ มีส่วนที่นิยม 3 ส่วน คือ
- อะกะมิ (アカミ) เนื้อสีแดงเข้มในส่วนของลำตัว มีปริมาณมากที่สุด ราคาจึงไม่แพงค่ะ
- ชูโทโร่ (中トロ) เนื้อบริเวณรอบลำตัว ใกล้กับครีบปลา มีความมันกว่า ”อะกะมิ” ราคาจึงแพงกว่า
- โอโทโร่ (大トロ) เนื้อบริเวณพุงที่มีส่วนของไขมันมาก เนื้อสีอ่อนมีลายสีขาวของไขมันทั่วชิ้น ในปลาหนึ่งตัวมีเนื้อแบบนี้อยู่ปริมาณน้อย ราคาเลยแพงตามไปด้วยค่ะ เป็นส่วนที่อร่อยมาก นุ่มละลายในปาก มันๆ
นอกจาก 3 ส่วนนี้ เนื้อปลาในส่วนคาง (カマトロ) ก็มีความอร่อยมาก อร่อยไม่แพ้โอโทโรเลยค่ะ ไม่มีเยื่อ ไม่มีเอ็น ทานง่าย นุ่มมีมันมาก ปลาหนึ่งตัวตัดได้เพียง 2 ชิ้น จึงหารับประทานได้ยากค่ะ
ปลามากุโร่เนื้อขาว
ปลามากุโร่ พันธุ์ที่นิยมทำปลาดิบอีกพันธุ์คือ บินโจมากุโร่ (ビンチョウマグロ) ปลามากุโร่เนื้อขาวค่ะ มีขนาดเล็กแค่เมตรเดียว เนื้อสีอ่อน ไม่แดงจัด สมัยก่อนไม่ทานดิบนะคะ นำมาแปรรูปเป็นปลากระป๋องเท่านั้น ต่อมาร้านปลาดิบที่จังหวัดชิซูโอกานำมาแล่เป็นซาชิมิ เรียกว่า บินโทโร่ ทั้งยังทำเป็นซูชิ จึงเป็นที่นิยมแพร่หลายทั่วญี่ปุ่นจนปัจจุบันนี้ค่ะ
ปัจจุบันมากุโร่กับอะโวคาโดไม่ได้มีแค่ห่อสาหร่ายค่ะ อีกเมนูคือ “สลัดมากุโร่กับอะโวคาโด” อาหารแบบฮาวายที่คนญี่ปุ่นชอบรับประทานค่ะ ที่ไทยเรียกอาหารชนิดว่า”โปเกะ” เพิ่งเริ่มได้รับควมนิยมในช่วงไม่กี่ปีนี้เองค่ะ โดยเฉพาะวัยรุ่น สาวๆที่รักษาหุ่น เป็นอาหารที่หาซื้อได้ตามร้านสลัด ร้านเครื่องเคียง ชั้นใต้ดินของห้างสรรพสินค้าหรือบริเวณหน้าซุปเปอร์มาร์เาก็ตของญี่ปุ่นค่ะ
สเต็กปลามากุโร่ (มากุโร่ โนะ สึเตคิ/まぐろのステーキ) ที่ใช้ปลาดิบมาทำค่ะ นำมาย่างให้สุกเพียงแค่ด้านนอก ให้เนื้อด้านในคงความสดมีสีแดงน่ารับประทาน เป็นเอกลักษณ์ของสเต็กมากุโร่เลยค่ะ เนื้อจะนุ่ม รับประทานง่าย ปรุงรสแบบญี่ปุ่น หอมโชยุ หอมเนย กินกับน้ำสเต็กแบบญี่ปุ่นผสมหัวไชเท้าขูด หรือ น้ำสเต็กแบบฝรั่งก็ได้ค่ะ อาหารจานนี้หลายคนรู้จักดี เพราะสามารถหาทานได้ที่ได้ค่ะ
ปลามากุโร่สามารถกินได้เกือบทุกส่วนเลยนะคะ อย่าง ตาปลา นำมาต้มโชยุ แก้มปลา นำไปทอดหรือทำสเต็กได้เหมือนเนื้อสัตว์เลยค่ะ แต่อีกส่วนที่จะนิยมมากรองจากเนื้อทั่วไปก็คือ “เนื้อคางปลามากุโร่”ค่ะ นำไปย่าง เรียกว่า “คามะยากิ” (カマ焼き) แม้จะเป็นก้างชิ้นใหญ่ แต่เนื้อด้านในเยอะแน่นมันอร่อยมาก คนญี่ปุ่นชอบกินเป็นกับแกล้มค่ะ
- ปลาคัตสึโอะ
commons.wikimedia.org
ปลาคัตสึโอะ (鰹) ภาษาอังกฤษ skipjack tuna ปลาในวงศ์เดียวกับทูน่าแต่จะตัวเล็กกว่า ลำตัวมีลายเป็นเส้นยาว มีอีกชื่อว่าทูน่าท้องแถบหรือปลาโอแถบค่ะ กินดิบเป็นซาชิมิได้ แต่ส่วนใหญ่นำมาตากแห้งทำ ”คัตสึโอะบุชิ” และนำไปแปรรูปเป็นปลากระป๋องค่ะ
คัคสึโอะบุชิ
คัตสึโอะบุชิ (かつお節) หรือ ปลาโอแห้ง ที่ญี่ปุ่นมีมาตั้งแต่ยุคโบราณ เชื่อกันว่าเริ่มในยุคสมัยไทโอ (ค.ศ.701) และเชื่อกันว่ามีต้นกำเนิดมาจากประเทศมัลดีฟส์ค่ะโดยส่งผ่านเส้นทางค้าขายจากทะเลทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มายังประเทศญี่ปุ่น ปัจจุบันที่มัลดีฟส์บริโภคปลาคัตสึโอะมากที่สุด และมีคัตสึโอะบุชิเป็นชิ้นใหญ่ นำมาทำซุปทำอาหารเช่นกันค่ะ (เรียกว่า Maldives Fish)
ปลาโอแห้ง มีชิ้นที่ใหญ่และแข็ง ชาวญี่ปุ่นจึงคิดค้นที่ไสขึ้นมา เป็นกล่องไม้ ด้านบนมีใบมีด สำหรับไสปลาโอแห้งลงไปด้านในกล่อง เป็นปลาโอแห้งฝอย มีอีกชื่อคือ ฮานะคัตสึโอะ ค่ะ
โอะคะคะ
ปลาโอแห้งฝอย สามารถนำมาทำอาหารนอกจากต้มเป็นน้ำสต็อกอย่าง โอคาคา (ผงโรยข้าวจากปลาโอ) และ โรยผักต้มผักสลัด ค่ะ
คัตสึโอะ ทาทาคิ
นอกจากกินดิบแล้ว ยังนิยมนำไปเผาด้วยฟางข้าว (วาระยากิ/わらやき) ให้ผิวด้านนอกสุก แต่ด้านในยังคงเนื้อแดง เรียกว่า คัตสึโอะ ทาทาคิ (かつおたたき) เนื้อปลาด้านนอกต้องเผาให้ไหม้ถึงจะหอม ยิ่งเป็นปลาที่จับมาสดๆแล้วเผาริมทะเลยิ่งอร่อยค่ะ กินง่าย ไม่คาว ใครที่ไม่ชอบชาซิมิเนื้อแดง รับรองว่าถ้าได้กินต้องติดใจ ส่วนน้ำจิ้มก็รสอ่อน กินง่าย ไม่ใช้โชยุเข้มๆ เป็นโชยุที่ปรุงรสเปรี้ยวหวานค่ะ
ปลาคัตสึโอะกระป๋อง
ส่วนปลาคัตสึโอะที่นำมาทำปลากระป๋องนั้นมีรสชาติหน้าตาเหมือนกับปลามากุโร่ค่ะ ปลากระป๋องทั้ง 2 ชนิดนี้ เรียกว่า ทูน่า (tuna kan/ツナ缶) เหมือนกันค่ะ เวลาเลือกซื้อ เราต้องอ่านส่วนผสมว่า ทำมาจาก มากุโร่ หรือ คัตสึโอะ นะคะ
คนญี่ปุ่นบางคนก็เรียกทูน่ากระป๋องว่า”ซี ชิคิน” (シーチキン/sea chicken) ความหมายคือ เนื้อไก่ทะเล ด้วยเนื้อและรสของทูน่าที่ดูคล้ายเนื้อสันในไก่ แต่ทูน่าเป็นปลาทะเล จึงได้ชื่อนี้มาค่ะ แต่เดิมเป็นแค่ชื่อยี่ห้อของทูน่ากระป๋องยี่ห้อหนึ่ง แต่คนญี่ปุ่นเรียกชื่อนี้กันจนติดปาก เหมือนกับคนไทยเรียกบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปรวมๆว่ามาม่าค่ะ
- ปลาซาเกะ และ ปลาแซลมอน
ปลาซาเกะ (鮭) ภาษาอังกฤษคือแซลมอน (salmon) คนญี่ปุ่นอ่านว่า ซา-ม่อน ค่ะ ทำอาหารได้หลากหลาย ทั้งกินดิบ รมควัน ย่าง ทอด นึ่ง ขึ้นอยู่กับชนิดและความสดของปลาค่ะ และคนญี่ปุ่นจะเรียกแซลมอนแต่ละชนิดแตกต่างกันตามแหล่งกำเนิด แบ่งเป็น 3 ชนิดค่ะ
แชลมอน (サーモン) - แชลมอน (サーモン) อ่านว่า “ซามอน” ปลาที่เติบโตในทะเล นำเข้าจากต่างประเทศ เป็นปลาแช่แข็ง นิยมทานเป็นปลาดิบค่ะ ที่เรากินที่ร้านซูชิสายพานนั้นเป็นปลาเทราต์สายรุ้ง ปลาในวงศ์แซลมอนค่ะ เป็นซูชิที่เพิ่งมีในช่วงหลังๆ สมัยก่อนคนญี่ปุ่นไม่รับประทานกันค่ะ ตามร้านซูชิเก่าๆหรูหราราคาแพงจึงไม่มีเมนูนี้นะคะ
ปลาแชลมอนแช่แข็งส่วนใหญ่ที่ขายตามซุปเปอร์มาร์เก็ตก็นำเข้าเช่นกันค่ะ จากประเทศชิลีและประเทศนอร์เวย์ซะเยอะ นำมา นึ่ง ย่าง อบ ได้หมดค่ะ แต่ส่วนใหญ่จะเอามาย่างเกลือ เหมือนเมนูตามร้านอาหารญี่ปุ่นที่ไทยค่ะ
- ซาเกะ (鮭)อ่านว่า “สาเก” หรือ “ซาเกะ” ปลาที่จับได้ในญี่ปุ่น เป็นปลาน้ำกร่อย ตามแหล่งน้ำธรรมชาติ ที่มีชื่อเสียงของจังหวัดฮอกไกโด ซึ่งซาเกะเป็นชื่อเรียกของปลามะสึ ที่ตัวใหญ่ค่ะ นิยมนำมาทำให้สุกก่อนรับประทานค่ะ เช่น หม้อไฟ(นาเบะ) ห่อฟอยล์แล้วอบ(โฮอิรุ ยากิ) และ อาหารฝรั่งเศส ปลาทอดเนย(เมอร์นิแยร์) เป็นต้น
ปลาซาเกะของจังหวัดฮอกไกโดยังนิยมนำมาแปรรูปเป็นปลาป่นบรรจุกระปุก เรียกว่าซาเกะเฟลค (鮭フレーク) เป็นชิ้นเล็กๆคล้ายคอร์นเฟลค สำหรับทานกับข้าวสวย ข้าวราดน้ำชา และนำมาทำข้าวปั้นค่ะ หลายคนคิดว่ามันคือปลาย่างแต่จริงๆแล้วเป็นปลานึ่งค่ะ นึ่งทั้งตัวแล้วนำมาแกะก้างออกโดยใช้แรงงานคนค่ะ เพราะก้างปลามีทั้งใหญ่และเล็ก มองตาเปล่าไม่สามารถรู้ได้ ต้องใช้มือสัมผัสค่ะ - ปลาบุริ
ปลาบุริ (鰤) ปลาทะเลอยู่ในวงศ์เดียวกับปลาอาจิค่ะ มีขนาดประมาณ 1 เมตร จับได้มากสุดที่จังหวัดนางาซากิ อร่อยสุดในฤดูใบไม้ร่วง เดือน 9-11 ค่ะ เพราะเนื้อปลามีความหวานมัน นำมาทำอาหารได้ทั้งดิบและสุก เช่น ซาชิมิ ซูชิ เทอริยากิ ต้มกับหัวไชเท้า และปลาย่างในส่วนของคางค่ะ
คนญี่ปุ่นเรียกชื่อปลาบุริ แตกต่างกันตามขนาดค่ะ เพราะรสชาติความอร่อยแตกต่างกัน เพื่อเป็นการแบ่งระดับชั้น ชื่อเรียกจึงแตกต่างตามค่ะ และในแต่ละภูมิภาคก็เรียกไม่เหมือนกันนะคะ ยกตัวอย่างมา 4 ภาค วัตธนธรรมการกินของคนญี่ปุ่น